วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Seventh : Learning log (6th October,2015)





Learning  log  (6th  October,2015)

Noun Clause

ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น ต่างก็มีการฟัง, พูด, อ่าน และเขียน ซึ่งในการฟัง, พูด, อ่าน และเขียน แต่ละครั้งนั้นก็ย่อมที่จะมี Clause นั่นก็คือประโยต (Sentence) หลายประโยครวมกันอยู่ คือถ้าอยู่ตามลำพังจะเป็น Sentence  ถ้ารวมกันอยู่จึงจะเป็น Clause ส่วน Sentence  คือ ข้อความที่พูดออกมาแล้วได้ความหมายสมบูรณ์  ฟังรู้เรื่องซึ่งส่วนมากจะมีประธาน (Subject) และกริยา(Verb)มาด้วยกันเสมอ  หรืออาจจะเป็นคำคำเดียวก็ได้ ถ้าฟังกันรู้เรื่อง โดยเฉพาะประโยคคำสั่งที่มักจะเป็นคำกริยาคำเดียว ซึ่ง Sentence จะแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ Simple Sentence, Compound Sentence, Complex Sentence และ Compound Complex Sentence ซึ่ง Complex Sentence นั้นจะประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค โดย 2 ประโยคนี้มีความสำคัญไม่เท่ากัน นั่นคือประโยคหลัก Main Clause (มุขยประโยค) ที่มีใจความสมบูรณ์ และประโยครอง Subordinate Clause(อนุประโยค) ที่ต้องอาศัยประโยค Main Clause จึงจะได้ใจความสมบูรณ์ ซึ่ง clause ที่ดิฉันได้จะศึกษาในครั้งนี้ คือ  Noun Clause ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน Subordinate Clause ซึ่ง Noun Clause นี้สามารถพบเจอบ่อยในชีวิตประจำวัน
1) Noun clause แปลว่า “นามานุประโยค” หมายความว่า ประโยคทั้งประโยคนั้นถูกนำมาใช้เสมือนกับเป็นคำนามคำหนึ่ง วิธีที่จะสังเกตว่า clause ใดเป็น Noun clause นั้นให้สังเกตดังนี้ คือ
                1. Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคของมันด้วย that ซึ่งแปลว่า “จะ” และ หรือ
                2. Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคด้วยถ้อยคำที่แสดงคำถามคือ how, what, which, where, when, why, who, whose, whom เช่น
                I don’t know how he didn’t.
                ผมไม่รู้ว่าเขาทำมันได้อย่างไร
                He said that he know you.
                เขาพูดว่าเขารู้จักคุณ
                What do you want is in the bag.
                สิ่งที่คุณต้องการอยู่ในถุงนี้แล้ว


หน้าที่ (Function) ของ Noun clause      
                Noun clause เมื่อนำมาใช้อย่างนาม หรือเหมือนคำนาม ก็ย่อมทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับคำนามทั่วๆไป
                1) เป็นประธาน (Subject) ของกริยาได้ เช่น
                What she is doing seem very difficult.
                สิ่งที่เธอกำลังทำอยู่ดูเหมือนว่ายากมาก
                (What she is doing เป็นประธานของ seem)
                Where he lives is not know.
                เขาอยู่ที่ไหนยังไม่มีใครรู้
                (Where he lives เป็นประธานของ is not know)
                2) เป็นกรรม (Object) ของกริยาได้
                I want to know  where she lives.
                ผมอยากรู้ว่าหล่อนอยู่ที่ไหน
                (where she lives เป็นกรรมของ know)
                He promised that he would pay back the death.
                เขาให้สัญญาว่า เขาจะใช้หนี้คืนให้
                (that he would pay back the death เป็นกรรมของ promised)
                3) เป็นกรรม (Object) ของบุรพบท (Preposition) ได้ เช่น
                Wanna laughed at what you said.
                วรรณาหัวเราะเยาะสิ่งที่คุณพูด
                (what you said เป็นกรรมของ at)
                She is waiting for what she wants.
                หล่อนกำลังรอคอยสิ่งที่หล่อนต้องการ
                (what she wants เป็นกรรมของ for)
                4) เป็นส่วนสมบูรณ์ (Complement) ของกริยาได้
                This is what you want.
                นี้คือสิ่งที่คุณต้องการ
                (what you want เป็นเป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา is)
                It seems that it is impossible.
                ดูเหมือนว่า มันเป็นไปไม่ได้
                (that it is impossible เป็นเป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา seems)
                5) เป็นคำซ้อนของคำนามตัวอื่นได้ (Appositive) เช่น
                He belief that coffee will keep him alert is incorrect.
                ความเชื่อของเขาที่ว่า กาแฟจะทำให้เขาตื่นอยู่เสมอนั้นไม่ถูกต้อง
                (that coffee will keep him alert เป็นคำซ้อนของ belief)
                The news that he intended to come gave us much pleasure.
                ข่าวที่ว่าเขาตั้งใจมากนั้นทำให้เรามีความยินดีมาก
                (that he intended to come เป็นคำซ้อนของนาม news)


การละ that (omission of that) ในประโยค Noun Clause
ประโยค Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย that หรือนำหน้าประโยคด้วย that นั้น ถ้าเป็นภาษาธรรมดา (Informal) โดยเฉพาะภาษาพูด (Spoken language) แล้ว เรามักจะลบ that เสมอ เช่น
                He says coffee grows in Brazil.
( =          He says that coffee grows in Brazil. )
                เขาพูดว่า กาแฟปลูกในประเทศบราซิล
                I know he’ll return soon.
( =          I know that he’ll return soon.)
                ผมรู้ว่าเขาจะกลับมาเร็วๆนี้
ข้อยกเว้น : แต่ในกรณีต่อไปนี้ ประโยค Noun Clause จะต้องใช้ that เสมอ จะละไว้ในฐานเข้าใจไม่ได้ นั่นคือ
1) เมื่อ that-clause ขึ้นต้นประโยค ต้องใส่ that เสมอ เช่น
That coffee grows in Brazil is true.
ที่ว่ากาแฟปลูกในประเทศบราซิลนั้นเป็นความจริง
That she had decided to be engaged frightened me very much.
                ที่ว่าหล่อนตัดสินใจที่จะรับหมั้นนั้นทำให้ผมตกใจมากๆ
2) เมื่อ that-clause เป็นคำซ้อนนามที่อยู่ข้างหน้ามัน (Appositive) ต้องใส่ that เสมอ เช่น
                The news that he was murderer is not true.
                ข่าวที่ว่าเขาเป็นฆาตกรนั้นไม่เป็นความจริงเลย
                He belief that the earth moves round the sun is correct.
                ความเชื่อของเขาที่ว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์นั้นถูกต้อง
                3) เมื่อ that-clause อยู่หลัง It is ( หรือ It was) ต้องใส่ that เสมอ เช่น
                It is true that the earth moves round the sun.
                เป็นความจริงที่ว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์
                It is impossible that he has done this by himself.
                เป็นไปไม่ได้ที่ว่าเขาได้ทำสิ่งนี้ด้วยตัวเอง

Noun clauses เหล่านี้ เมื่ออยู่ในตำแหน่งของประธานจะเรียกว่า "Subject noun clauses" และเมื่ออยู่ในตำแหน่งของกรรม จะเรียกว่า "Object noun clauses" เช่น
Subject Noun Clauses
1. That scores are going down is clear.
(มักใช้ในภาษาเขียนหรือภาษาทางการ)
ที่ว่าคะแนนลดลงเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน
2. What he said confused us terribly.
สิ่งที่เขาพูดทำให้พวกเราสับสนมาก
Object Noun Clauses
1. I feel that you overestimated the damages.
ผมรู้สึกว่าคุณประมาณการความเสียหายเกินความเป็นจริง
2. I don’t know where she is.
ผมไม่รู้ว่าเธออยู่ที่ไหน
ประเภทของ Object Noun Clauses
   Object Noun Clauses จะต้องอยู่คู่กับ Main Clause ของประโยคเสมอ โดยประโยคจะเริ่มด้วย Main Clause แล้วตามด้วย Object Noun clause โดยไม่ต้องมีเครื่องหมาย Comma คั่น Object noun clauses มี 3 ประเภท ได้แก่
    1. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "that"
    2. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย "Wh-Words" (หรือ Question Words)
    3. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "if" หรือ "whether"
1. การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "That"
เราใช้ Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า that ในกรณีต่อไปนี้
1.1 ใช้ตามหลัง verbs บางตัวที่แสดงความรู้สึก ความคิด หรือ ความคิดเห็น เช่น agree, feel, know, remember, believe, forget, realize, think, doubt, hope, recognize, understand
เช่น
 I agree that we should follow him.
She knows that her mom loves her.
1.2 ถ้าเป็นภาษาพูด มักจะละคำว่า that ซึ่งเป็นคำขึ้นต้น clause เช่น
I think that it’s red, not blue. (ภาษาทางการ)
I think it’s red, not blue. (ภาษาพูด)
1.3 Verbs ใน main clauses มักจะเป็น present tense แต่ verbs ใน noun clauses จะเป็น tense อะไรก็ได้ เช่น
 I believe it’s raining. (now)
I believe it’ll rain. (very soon)
I believe it rained. (a moment ago)
1.4 ในการสนทนา ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการพูดคำว่า that บ่อยเกินไป หรือไม่ต้องการพูด noun clause ซ้ำ สามารถตอบโดยใช้คำว่า so หรือ not หลัง main clauses ได้ เช่น
 Surat: Is Surawee here today?
Dendao: I think so.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I think that Surawee is here today.)

Dares: Has the rain stopped?
Sompet: I don’t believe so.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I don’t believe that the rain has stopped.)
Joom: Are we ready to leave?
Paa: I’m afraid not.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I’m afraid that we are not ready to leave.)
2. การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words
การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words (ได้แก่คำว่า what where when why how) มีหลักเกณฑ์ดังนี้
2.1  Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Indirect wh-questions และแม้ว่า noun clauses เหล่านี้จะขึ้นต้นด้วยคำแสดงคำถาม แต่ลำดับคำ (word order) ในอนุประโยคนี้ จะเป็นลำดับคำของประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ลำดับคำของประโยคคำถาม เช่น
 I know why he comes home very late.
(ไม่ใช่ why does he come home very late)
I don’t know when he will arrive.
(ไม่ใช่ when will he arrive)
2.2 การใช้เครื่องหมายวรรคตอนของประโยคจะเป็นไปตามลักษณะของ main clause กล่าวคือ ถ้า main clause เป็นคำถามจะใช้เครื่องหมาย question mark ปิดประโยค ถ้า main clause เป็นบอกเล่า จะใช้เครื่องหมาย full stop ปิดประโยค เช่น
Could you tell me where the elevators are?
(Main clause เป็นคำถาม)
I’m wondering where the elevators are.
(Main clause เป็นบอกเล่า)

2.3 ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words เพื่อแสดงให้คู่สนทนาทราบว่า เราไม่รู้ หรือเราไม่แน่ใจ เช่น
I don’t know how much it costs.
I would like to know when our next meeting will be.
I’m not sure which house is his.
2.4 ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words เพื่อถามหาข้อมูลอย่างสุภาพ เช่น
Could you tell me who are injured in the accident?
Can you tell me what time the show starts?

3. การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย If หรือ Whether
                การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether มีหลักเกณฑ์ดังนี้
3.1 Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether คือ indirect yes/no questions นั่นเองเช่น Direct Question: Did they pass the exam?
Indirect Question: I don’t know if they passed the exam.
(ข้อความที่ขีดเส้นใต้คือ noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย if นั่นเอง)
3.2 ลำดับคำในประโยค (word order) และเครื่องหมายจบประโยค ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words

3.3 จะขึ้นต้น Noun Clauses ด้วยคำว่า if หรือ whether ก็ได้ แต่มักใช้ whether ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างเป็นทางการ เช่น
 Sir, I would like to know whether you prefer coffee or tea.
Tell me if you want to go with us or not.
3.4 ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อ main clause แสดงการใช้ความคิด หรือความคิดคำนึง เช่น
I can’t remember if I had already paid him.
I wonder whether he will arrive in time.
3.5 ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อต้องการถามคำถามอย่างสุภาพเช่น
Do you know if the principal is in his office.
Can you tell me whether the tickets include drinks?
Did they pass the exam?
If/Whether (... or not) ใช้นำหน้าข้อความที่เป็นลักษณะการถามว่าใช่หรือไม่   if ใช้ได้เฉพาะนำหน้า noun clause ที่เป็นกรรม เท่านั้น ส่วน whether ใช้ได้ทุกกรณี

                การฟัง, พูด, อ่าน และเขียน นั้นล้วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก ซึ่งในแต่ละครั้งที่คนเราสื่อสารกันกับคนอื่นๆนั้นจะต้องใช้ประโยค (Sentence) เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ Sentence หรือประโยค เป็นข้อความที่เกิดจากคำหลายๆคำหรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่าใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร  ซึ่งประโยค (sentence) นั้นแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ ประโยคความเดียว(Simple Sentence), ประโยคความรวม (Compound Sentence), ประโยคความซ้อน (Complex Sentence) และ ประโยคความรวมความซ้อน (Compound Complex Sentence) และเมื่อนำมาประโยคมารวมกันก็จะกลายเป็น clause นั่นเอง Noun Clause เป็นส่วนหนึ่งของ Clause  ซึ่ง Noun Clauses คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นคำนามในประโยค ในการสนทนาในชีวิตประจำวัน เราอาจได้ยินหรือใช้ noun clauses โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังใช้ noun clauses อยู่ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น