วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Fifth : Learning log (15th September, 2015)





Learning   log

(15th  September, 2015)

การพัฒนาประเทศต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคน การพัฒนาคนเริ่มต้นที่การให้ การศึกษา เพราะเชื่อว่าการศึกษาช่วยสร้างความรู้ความคิด ทักษะเจตคติให้คนไทยรู้จักตนเองรู้จักชีวิต เข้าใจสังคมและสิ่งแวดล้อม นำความรู้ความเข้าใจมาใช้ในการแก้ปัญหา รวมทั้งสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวล้ำไปมากดังนั้นจึงจะต้องดำเนินพัฒนาการศึกษาให้ก้าวทันโลกแต่ปัจจุบันนี้เมื่อหันมามองการจัดการศึกษาไทย การศึกษาไทยกำลังมีปัญหา ซึ่งมีการทำการวิจัยออกมาหลายๆครั้งที่สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวในการจัดการศึกษา  การศึกษาที่มีคุณภาพสามารถเปลี่ยนแปลงคนไปในทางที่ดีกว่าเพราะการศึกษาคือความเจริญงอกงาม (Education is Growth) และทำหน้าที่พัฒนาคุณภาพชีวิตคน การศึกษาสามารถจัดคนเข้าสู่อาชีพตามความถนัดและความสนใจได้ การศึกษาสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ทันต่อเหตุการณ์ และแก้ปัญหาสังคม ประเทศและโลกได้ สิ่งที่สำคัญที่จะสามารถทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพคือ การบูรณาการทางการศึกษา  คุณภาพของครูไทยในยุคอาเซียน และ
                การบูรณาการทางการศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในการจัดการศึกษา ต้องมีการส่งเสริมการผลิตสื่อ และการคัดกรองหนังสือเรียนที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการเปิดโรงเรียนนานาชาติมากขึ้น ส่งเสริมโรงเรียน English Program (โรงเรียน EP) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (Enrichment Class) เพื่อให้ผู้เรียนที่มีศักยภาพทางภาษาอังกฤษสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทางสังคม (Social Interaction) และด้านวิชาการ (Academic Literacy)  และพัฒนาห้องเรียนสนทนาภาษาอังกฤษ (Conversation Class) ที่เน้นทักษะการฟังและการพูด การจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการระหว่างการสอนแบบนิรนัยและแบบอุปนัยที่จะทำให้การเรียนการสอนในห้องเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                การเรียนการสอนที่ดีจะต้องมีการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เป็นศูนย์กลางของการจัดการเรียนรู้ การบูรณาการเรียนการสอนระหว่างวิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive Method)และวิธีสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method ) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย(Deductive  Method) กระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ  ทฤษฎี  หลักเกณฑ์  ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน  จากนั้นจึงให้ตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง  หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกการนำทฤษฎี  หลักการ  หลักเกณฑ์  กฎหรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย   หรืออาจเป็นลักษณะให้ผู้เรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี  กฎหรือข้อสรุปเหล่านั้น  การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีเหตุผล  ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ  และมีความเข้าใจในกฎเกณฑ์  ทฤษฎี  ข้อสรุปเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง การสอนแบบนี้  เป็นการสอนจากทฤษฎีหรือกฎไปสูตัวอย่างที่เป็นรายละเอียด ส่วนวิธีสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method )ก็เป็นวิธีการสอนที่จำเป็นต่อการเรียนรู้

วิธีสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method )  เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้นักเรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบ แล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นข้อสรุ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สำคัญ ๆ ด้วยตนเองกับให้เข้าใจความหมายและความสัมพันธ์ของความคิด ต่าง ๆ อย่างแจ่มแจ้ง ตลอดจนกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักการทำการสอบสวนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ข้อดีจะทำให้นักเรียนเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งและจำได้นาน ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตามหลักตรรกศาสตร์ และหลักวิทยาศาสตร์
และให้นักเรียนเข้าใจวิธีการในการแก้ปัญหา และรู้จักวิธีทำงานที่ถูกต้องตามหลักจิตวิทยา อย่างไรก็ตามหากการจัดการเรียนการสอนที่ดีต้องสามารถบูรณาการระหว่างวิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive Method)และวิธีสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method ) 
                ในอนาคตอันใกล้เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมด้านการศึกษาของไทย เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งการสร้างประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษาเพื่อให้ประเทศไทยเป็น Education Hub มีการเตรียมความพร้อมในด้านกรอบความคิด คือ แผนการศึกษาแห่งชาติ ที่จะมุ่งสร้างความตระหนักรู้ของคนไทยในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยให้ เป็นคนของประชาคมอาเซียน เพื่อพัฒนาสมรรถนะให้พร้อมจะอยู่ร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน การศึกษา โดยให้มีการร่วมมือกันใน 3 ด้านคือ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ ในอาเซียน รวมทั้งให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต
                คำว่าครูในประเทศไทยและประเทศในอาเซียนนั้นถือได้ว่าเป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์ ในเวียดนามเชื่อกันว่าครูเหนือกว่าคนอื่นๆ ในสังคมจะเป็นรองก็แต่พระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น ส่วนของไทยครูถือว่าเป็นพ่อแม่คนที่สอง แต่ปัจจุบันการยอมรับนับถือได้ลดลงไปมาก ความสำคัญก็ลดน้อยลง ทำให้คนเป็นครูลดความภาคภูมิใจไปด้วย นอกจากนั้นบทบาทของครูในอดีตจะเป็นผู้ชี้แนะและชี้นำชีวิตในสังคมชุมชนด้วย แต่บทบาทเหล่านั้นก็ลดลงไป ปัญหาใหม่ที่พบมากอีกประการหนึ่งคือมีภาระงานมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการสอนและงานอื่นๆ อีกทั้งสังคมก็เรียกร้องให้ครูมีบทบาทใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาของสังคมด้วย เช่น แก้ปัญหาคอรัปชั่น  ปัญหาของครูไทยและอาเซียน สะท้อนให้เห็นว่าครูทำงานได้ยากขึ้นในปัจจุบัน และยิ่งในอนาคตด้วยยิ่งครูทำงานได้ยากมากยิ่งขึ้นไปอีกภาระของครูก็จะมากขึ้นไปด้วย เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาครูในยุคอาเซียนจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบัน
                จากปัญหาในปัจจุบันและภาระในอนาคตที่ชี้ให้เห็นว่าช่องว่างระหว่างปัจจุบันกับอนาคตมีอยู่สูงมาก จะต้องทำอย่างไรให้ครูในปัจจุบันแก้ปัญหาในปัจจุบันได้และพร้อมที่จะรับภาระในอนาคตได้ คือจะต้องมีระบบฝึกหัดครูใหม่ และเราจะต้องมีกระบวนการผลิตครูใหม่ๆ มากขึ้น การทำหน้าที่ครูในอนาคตให้ดีและมีคุณภาพสูงจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและลำบากมากขึ้นและต้องการการเสียสละอย่างสูง จึงจำเป็นต้องคัดเลือกคนเก่งและตั้งใจที่จะเป็นครูอย่างแท้จริง คนที่ไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นครูจะต้องออกไปประกอบอาชีพอื่น ในขณะเดียวกันสถาบันที่ผลิตครูจะต้องทันสมัย ก้าวหน้า พัฒนาวิชาการอย่างเข้มแข็งด้วยระบบของการวิจัย แนวทางการพัฒนาครูรุ่นใหม่ จะต้องเน้นเป็นครูให้เป็นผู้สนับสนุนมากกว่าบอกให้ทำ รวมทั้งปลูกฝังอุดมคติ ความมุ่งมั่น และความเสียสละให้กับครูด้วย สุดท้ายครูต้องรู้จักสังคมและชุมชนของตนอย่างดีพอ ไม่ใช่รู้จักแต่ข้อมูลภายนอกสังคมของคนอย่างเดียว  บทบาทของครูในอนาคตที่สำคัญคือการเตรียมผู้เรียนให้สอนตนเองได้
                บทบาทของครูในอนาคตที่สำคัญคือการเตรียมผู้เรียนให้สอนตนเองได้ต่อไป ซึ่งประกอบไปด้วย การสอนให้ผู้เรียนกำหนดจุดมุ่งหมายได้เองให้รู้ว่าจะเรียนไปเพื่ออะไรสอนให้ผู้เรียนหาความรู้ได้เอง ว่าควรหาที่ไหนอย่างไร, สอนให้ผู้เรียนคัดกรองความรู้ได้เอง ด้วยการให้เหตุผล ข้อมูล หลักการต่างๆ,   สอนให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ได้เองด้วยการสอนขั้นตอนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และ การสรุปองค์ความรู้
สอนให้ผู้เรียนตกผลึกในความรู้นั้นด้วยการให้ผู้เรียนได้เข้าใจการวิเคราะห์ตีความและการประเมิน สอนให้ผู้เรียนประยุกต์ความรู้เป็นว่าจะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร และสอนให้ผู้เรียนประเมินการสอนได้ด้วยวิธีการและขั้นตอนต่างๆ ตามหลักการประเมิน  ทักษะการสอนทั้ง 7 ประการนี้เป็นสิ่งที่ครูผู้สอนในอนาคตไม่ว่าจะสอนในระดับพื้นฐานหรือระดับอุดมศึกษาจะต้องพัฒนาขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ในปัจจุบันกระแสการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในอนาคตเป็นสิ่งที่ทุกคนกำลังจับตามอง
                การเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ไม่อาจแยกจากกันได้เด็ดขาดได้ว่าเป็นยุคอดีต ยุคปัจจุบัน และยุคอนาคต แต่จะมีลักษณะที่คาบเกี่ยวและมีความสัมพันธ์ต่อกันเสมือนอยู่บนเส้นตรงเดียวกัน กระแสการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่คาดหมายว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตก็เช่นกัน ซึ่งก็อาจมีกระแสหลักอยู่หลายประเด็นที่ได้เกิดมาในอดีต แล้วดำเนินสืบต่อมาใน ปัจจุบันและอาจต่อเนื่องต่อไปในอนาคตก็ได้ หรืออาจเป็นกระแสหลักที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคตเลยก็ได้ ดังนั้นจึงต้องจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  ระบบโครงสร้างและกระบวนการศึกษายึดหลักสำคัญ 3 ประการ  คือ เป็นการศึกษาสำหรับประชาชนทั่วไปตลอดชีวิต  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
                การศึกษาของไทยในอนาคตยังคงต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพด้านวิชาการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคมเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันสูง แต่การศึกษาจะมีคุณภาพนั้นผู้เรียนจะต้อง มีความรู้ คู่คุณธรรม“  เพื่อพัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ โดยอาศัยความร่วมมือจากสถาบันครอบ ครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา การพัฒนาประเทศต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคน การพัฒนาคนนั้นจะเริ่มต้นที่การให้การศึกษา  การศึกษาไทยกำลังมีปัญหาซึ่งมีความล้มเหลวในการจัดการศึกษา 
ดังนั้นครูจะต้องมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังให้ผู้เรียนยึดคุณธรรมเป็นพื้นฐานในกระบวนการเรียนรู้และการดำรงชีวิต ควบคู่ไปกับความรู้ทางวิชาการ ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีจิตสาธารณะ นำความรู้ สู่สังคม การศึกษาไทยในอนาคต เยาวชนไทยจะต้องเป็นคนดี มีความรู้  และมีความสุข มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข คิดสร้างสรรค์และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต  เป็นผู้ที่สามารถสร้างความรู้ใหม่ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ รักการทำงาน และมีพลวัตในตนเองสูง เป็นผู้มีความสามารถทางด้านภาษาสากล เทคโนโลยี มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนานาชาติ มีค่านิยมสากล และสามารถบูรณาการวิถีชีวิตไทยกับสังคมสากลได้อย่างมีความสุข



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น