Learning Log
29 October – 30 October 2015
สิ่งที่เรียนรู้จากการอบรม “เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ”
ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่
21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง
ครูจะต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่
21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ
19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุดคือทักษะการเรียนรู้
(Learning skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดในศตวรรษที่
21 นี้มีความรู้ความสามารถและทักษะจำเป็น
ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตลอดจนการเรียนความพร้อมด้านต่างๆ
ครูเป็นบุคคลหลักของการปฏิรูปการเรียนรู้
ดังนั้นครูจะต้องเป็นผู้มีทักษะที่เรียกว่า “ทักษะของครูมืออาชีพ”
เป็นทักษะที่เน้นการสร้างหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้เด็กๆเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง
โดยทำงานเป็นกลุ่มเน้นภาวะผู้นำและผู้ตาม ตลอดจนสอนให้เด็กๆสร้างนวัตกรรมด้วยการทำโครงงานหรือทำวิจัยพื้นฐาน
และครูก็ทำวิจัยพัฒนาการเรียนรู้ด้วย
ทักษะเพื่อการเป็นครูมืออาชีพตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ ทักษะ5c เป็นทักษะที่สำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์สิ่งที่ครูต้องปฏิบัติและพึงมีตามพระราชบัญญัติการศึกษา
พ.ศ.2542 ในหมวด 4 แนวการจัดการศึกษาทักษะ
5c เป็นทักษะที่ครูควรได้รับการพัฒนาเพื่อการเป็นครูมืออาชีพ
ซึ่งได้แก่ทักษะดังต่อไปนี้ ทักษะ c1 : curriculum development skills, ทักษะ c2 : Child – centered approach skills, ทักษะ
c3 : Classroom innovation implementation, ทักษะ c4
: classroom authentic assessment และทักษะ c5 : classroom
action research ซึ่งทักษะ 5c นี้จะนำมาซึ่งความสำเร็จของการปฏิรูปห้องเรียนและโรงเรียน
ในศตวรรษที่ 21 การจัดการกระบวนการเรียนรู้
จึงพยายามเปลี่ยนบทบาทครูจากผู้บรรยายมาเป็นครูร่วมกันออกแบบกิจกรรมในการจัดกระบวนการเรียนรู้
(Pedegogy) ให้นักเรียนใช้เป็นเครื่องมือไปเรียนรู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกและเสนอแนะเครื่องมือการเข้าถึงองค์ความรู้ผ่านวิธีการต่างๆโดยเฉพาะผ่าน
Technology ให้เข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
นำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้องเรียกกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ว่า Active
Learning ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student – centered) และ ปรับเปลี่ยนการเรียนเปลี่ยนวิธีการสอนจาก Passive Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยการอ่านฟังบรรยาย โดยยึดเนื้อหา (content
Based) จากหนังสือและตำราซึ่งเป็นรูปแบบที่ครูในประเทศไทยคุ้นเคยและใช้กันมาก
ครูจะพยายามบรรยายและบอกทุกสิ่งทุกอย่างในตำราหรือหนังสือให้นักเรียนจดบันทึกแล้วนำไปใช้สอบวัดเก็บเป็นคะแนนความรู้
ทักษะของคนในศตวรรษที่
21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือการเรียนรู้ 3R x 7C 3R
คือ
Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่
Critical thinking & problem
solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์
และนวัตกรรม)
Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม
ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, teamwork &
leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
Communications, information & media
literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career & learning skills (ทักษะอาชีพ
และทักษะการเรียนรู้)
การสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 (Model of 21st Century Outcomes
and Support Systems) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขว้างต่อเนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน
(Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก (core
Subject) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้านรวมทั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้
ได้แก่มาตรฐานและการประเมินหลักสูตรและแผนการสอน การพัฒนาครู สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่
21 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา ไปสู่การเรียนรู้” ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st
Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้
แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง
โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ต้องฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช(coach) และอำนวยความสะดวก
(Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem – Based
Learning) ของนักเรียน
ซึ่งเป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือชุมชน การเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional
Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคน
Learning Log
29 October – 30 October 2015
สิ่งที่เรียนรู้จากการอบรม “เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ”
การศึกษาของเด็กไทยที่ผ่านมา
มีการพยายามในการยกระดับมาตรฐานทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนไทยเพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
เนื่องจากในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยในแต่ละปี ผลที่ออกมายังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน
ซึ่งในปัจจุบันการศึกษาไทยนั้นตกต่ำอย่างมาก และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในเร็ววัน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นแทบจะกลายเป็นปัญหาคาราคาซัง
ซึ่งปัญหาเหล่านี้คือปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเด็กไทยที่เข้าเรียนในระบบการศึกษาไทยและปัญหาเหล่านี้แทบจะเห็นกันอย่างชินชา
การเรียนภาษาอังกฤษถึงแม้ว่าจะมีการเรียนมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง
ซึ่งภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2
ที่คนไทยเราร่ำเรียนกันมาเนิ่นนาน
ภาษาอังกฤษเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตตั้งแต่ระดับอนุบาล
แต่ก็ยังคงมีประเด็นที่ยังคงสงสัยกันอยู่ว่า เหตุใดคนไทยจึงพูดภาษาอังกฤษไม่ได้
ทั้งๆที่ได้เรียนภาษาอังกฤษกันมาตั้งแต่เด็ก
ซึ่งปัญหาที่เด็กไทยไม่สามารถพูดภาษาได้นั้นเป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขในขณะนี้
“ทำไมเด็กไทยไม่สามารถภาษาอังกฤษได้”
เป็นคำถามที่มีการถามมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสาเหตุที่เด็กไทยไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้นั้น
น่าจะมีสาเหตุมาจากเด็กไทยเรียนภาษาอังกฤษเพื่อให้รู้ภาษาอังกฤษ
แต่เด็กไทยในประเทศเจ้าของภาษาเน้นการใช้ภาษาอังกฤษในการเรียน
โรงเรียนของเจ้าของภาษาตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาลถึงประถมต้น ไม่ได้สอนภาษาอังกฤษแต่เน้นให้เด็ก ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ในการเรียนทุกวิชา ส่วนโรงเรียนบ้านเรา แยกสอนภาษาอังกฤษเป็นวิชา ต่างหาก เด็กไทยจึงรู้แค่ภาษาอังกฤษ แต่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้
และเด็กไทยกลัวทำผิดแล้วไม่ยอมใช้ภาษาอังกฤษ
เพราะตั้งแต่เด็กไทยถูกสอนว่าหากจะใช้ภาษาอังกฤษต้องใช้ให้ถูกไวยากรณ์ ถึงกลัวการพูดผิดไวยากรณ์ แต่เด็กในประเทศเจ้าของภาษา
จะไม่โดนจับผิดในเรื่องนี้เพราะเขารู้ว่าวิธีเดียวที่จะเก่งภาษาอังกฤษคือจะต้องฝึกให้เยอะ การพูดผิดเขียนผิดจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่
และส่วนที่สำคัญคือภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคิดของเด็กไทย หลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้บอกว่าคนจะเก่งภาษาใดได้ก็ต้องรู้จักคิดเป็นภาษานั้น หากจะให้เก่งภาษาอังกฤษ ด้านวิทยาศาสตร์ก็ต้องรู้คิดเรื่องวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ อยากจะเก่งภาษาอังกฤษด้านคณิตศาสตร์ ก็ต้องรู้จักคิดบวกลบคูณหารเป็นภาษาอังกฤษ การสอนภาษาอังกฤษที่แยกออกมาเป็นวิชาต่างหากถ้าไม่เด็กไทยไม่สามารถคิดเป็นภาษาอังกฤษ ปัญหาของการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กไทย นักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่เรียนเพื่อที่จะสอบผ่าน
ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่แคบโลกสมัยใหม่เปลี่ยนไปแล้วแล้วไม่ใช่แค่เรียนเพื่อสอบแต่ต้องเรียนเพื่อการเรียนรู้
การเรียนภาษาอังกฤษเพื่อให้รู้ภาษาอังกฤษ ควรมีการตั้งเป้าหมายที่ไกล เรียนเพื่อเป็นประโยชน์ในด้านอื่น
โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือเหมือนกับการเรียนวิชาอื่น
การที่จะทำให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยพัฒนาได้ นั้นจะต้องจัดการกับปัญหาการศึกษาของประเทศไทย
ซึ่งยังคงเป็นปัญหาระดับชาติที่ยังคงมีมาต่อเนื่องหลายยุคหลายสมัย ซึ่งส่งผลทำให้การศึกษาไทยไร้ประสิทธิภาพ มีการพัฒนา
คนให้มีความรู้ในภาษาอังกฤษสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง
และสอนให้คนไทยเรียนเรื่องวัฒนธรรมต่างชาติ ยิ่งทำให้ไม่เข้าใจบริบทวัฒนธรรมทางภาษา แม่จะถูกประโยคแต่ก็ผิดบริบท เพราะฉะนั้นครูผู้สอนภาษา
อังกฤษนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้เรียน
ภาษาอังกฤษให้มีทัศนคติในเชิงบวก
เพิ่มโอกาสในการฝึกภาษาอังกฤษ
และอีกส่วนที่สำคัญครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรตระหนักและออกแบบสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ได้จริง
Learning Log
29 October – 30 October 2015
สิ่งที่เรียนรู้จากการอบรม “เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ”
องค์ความรู้มีความสำคัญในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 นั้นประกอบไปด้วย ภาษาอังกฤษ(English) ทักษะการการ(reading) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และได้รับความรู้ต่างๆมากมากเพิ่มเติม
โดยเชื่อว่าทักษะการอ่านเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ต่างๆทักษะการใช้ภาษาอื่นๆ(language arts) ได้แก่การฟังการพูดเละการเขียนภาษาต่างประเทศ (world language)และศิลปะ (art) คณิตศาสตร์ (mathematics) เศรษฐศาสตร์ (economics) วิทยาศาสตร์ (science)
ภูมิศาสตร์ (geography) ประวัติศาสตร์ (history)
การปกครองและหน้าที่พลเมือง
(government and civics) สาขาวิชากลุ่มสังคมศาสตร์(social science) ในถานะที่เป็นอังกฤษภาษาแม่
เพราะฉะนั้นครูผู้สอนที่จะสอนภาษาอังกฤษนั้นควรที่จะมีวิธีการสอนที่ดีและเหมาะสมกับผู้เรียนเหมาะสมกับโรงเรียน
ชุมชน เพื่อให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
แนวการสอนภาษาอังกฤษมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกสอน
ทั้งนี้ครูผู้สอนจะต้องจะต้องเลือกใช้ให้ให้เหมาะสมเพื่อการรู้นั้นมีประสิทธิภาพที่ดี
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด ซึ่งรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษมีดังนี้
วิธีการแบบไวยากรณ์และแปล(the grammar-translation method) จะเน้นการฟังและการพูดแต่เน้นการเรียนไวยากรณ์และการแปลมีการใช้วิธีการสอนแบบนี้ในการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
วิธีการสอนแบบตรง (the direct method) วิธีสอนแบบตรงอิงแนวคิดที่ว่า “ภาษา”คือภาษาพูด “การเรียนภาษา” คือการให้ผู้เรียนได้สื่อสารด้วยภาษาที่เรียน
วิธีการสอนแบบฟัง-พูด (the audio-lingual method) อิงแนวคิดที่ว่า “ภาษา”คือ ภาษาพูด “การสอนภาษา”จึงควรเริ่มจากการฟัง-พูด
ซึ่งเป็นพื้นฐานไปสู้การอ่านและการเขียน
วิธีการสอนแบบเงียบ(the silent way)วิธีการสอนแบบเงียบ วิธีการสอนนี้มีหลักการเน้นความรู้ความเข้าใจเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ผู้เรียนคิดเองผู้สอนจะพูดน้อยที่สุด
วิธีการสอนตามแนวธรรมชาติ
(the natural approach ) เป็นแนวการสอนที่แลนแบบการรับรู้ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็ก
ซึ่งเป็นการรับรู้ที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ
ไม่มีใครสอนพัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสารกับเจ้าของภาษา
วิธีการสอนแบบชักชวน(suggest pedia) วิธีการสอนนี้
ผู้สอนควรโน้มน้าวให้ผู้เรียนได้ใช้พลังสมองของตนอย่างเต็มที่ โดยขจัดความกลัว
ความวิตกกังวล
วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง
มีความเชื่อว่าถ้าบุคคลใดได้รับการฝึกฝนบ่อยๆอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดการเก็บสะสมประสบการณ์ต่างๆและสามารถละลึกและถ่ายทอดได้
การเรียนรู้แบบร่วมมือ(cooperative learning) ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม
ร่วมกันเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
การเรียนรู้แบบภาระงาน (task based learning ) เป็นการจัดการเรียนสอนที่ใช้ภาระงานเป็นหลัก
เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่มในการพัฒนาการเรียนการสอน
การเรียนรู้จากการทำโครงงาน (project – based learning) โครงการเป็นวิธีการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
แนวการสอนภาษาแบบกำหนดสถานการณ์ จะเป็นการเน้นตัวผู้เรียน
ผู้สอนหรือผู้เรียนเลือกสถานการณ์ที่คิดว่าผู้เรียนจะต้อง ประสบในการใช้ภาษา
แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร(the
communicative approach)เป็นการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้
ซึ่งมุงเน้นความสำคัญของผู้เรียน
การสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้ เป็นการสอนเนื้อหาหาวิธีต่างๆมาบูรณาการกับจุดหมายของการสอนภาษา
คือผู้เรียนใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และในขณะเดียวกันก็พัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารไปด้วย
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นการเรียนรู้ซึ่งเปิดโอกาสให้ใช้วิธีตั้งคำถามและขบวนการแก้ปัญหาเป็นตัวนำกระบวนการแสดงความรู้และทักษะโดยไม่ยึดติดโครงสร้างของสาขาต่างๆทางด้านวิชาการ
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้นจะมีประสิทธิภาพดี
เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับครูเละผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูในศตวรรษที่ 21
จะต้องสนใจในเทคโนโลยีต่างๆมีการปรับการเรียนการสอนอย่างบูรณาการมีนวัตกรรม ICT ที่มีคุณสมบัติของด้านเทคโนโลยีโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์(social network)มาสนับสนุนการเรียนรู้และการบริหารจัดการทางด้านวิชาการ
บุคคล งบประมาน และการบริหารทั่วไปเพื่อการพัฒนา คุณภาพเด็กไทยยุคใหม่ด้วยสารสนเทศรอบด้านและจัด
โรงเรียนที่มีพร้อมสูง จัดแหล่งเรียนรู้แบบ e-classroom,
e-learning, e-library, e-office, e-student, e-service เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและสื่อสังคมสมัยใหม่สามารถสามารถยกระดับคุณภาพสถานศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพสร้างความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษาเพื่อให้การศึกษาในศตวรรษที่
21 มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
Learning Log
29 October – 30 October 2015
สิ่งที่เรียนรู้จากการอบรม “เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ”
การเรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาทักษะนั้น จะต้องใช้ความมานะพยายาม อดทน
หลักการศึกษาวิชาภาษาอังกฤษไม่มีหลักสูตรสำเร็จตายตัว
การเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กไทยในปัจจุบัน โดยฮาร์เมอร์(2547) กล่าวว่าผู้เรียนภาษาในห้องเรียนจะต้องมีแรงจูงใจมีโอกาสฟังหรือเห็นการใช้ภาษาด้วย ถึงจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ผลดี ดังนั้น Jeremy Harmer ได้เสนอองค์ประกอบที่จำเป็นในการเรียนภาษาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ผลดีกว่ามี
3 ประการ
โดยเรียกองค์ประกอบเหล่านี้ว่า "ESA" ได้แก่การทำให้ผู้เรียนสนใจและอยากมีส่วนร่วม(engage) การศึกษา(study) กิจกรรมที่ผู้เรียนให้ความสำคัญกับตัวภาษาหรือความรู้ทางภาษา การกระตุ้นการใช้ภาษา(active) ซึ่ง
"ESA"นี้ต่างก็เป็นกิจกรรมที่สอดแทรก
อยู่ในแต่ละรูปแบบของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ครูผู้สอนจะนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ
การจัดการเรียนการสอนมีหลากหลายรูปแบบซึ่งแต่ละรูปแบบต่างก็มีแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน
ในการสอนแต่ละครั้งครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของการเลือกรูปแบบการเรียนการสอน ด้วยรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษมีดังนี้
Ø การเรียนการสอนการออกเสียง เป็นการออกเสียงแต่ละคำ (individual
sound) การเน้นระดับเสียงคำ(word
stress) การเน้นเสียงระดับประโยค
(sentence stress) ทำนองเสียง (intonation) จังหวะ(rhyme)
Ø การเรียนการสอนคำศัพท์ โดยสอนเทคนิควิธีจำคำศัพท์ว่ามี 6
วิธีดังนี้คือ
จำคำศัพท์เป็นกลุ่มจำคำศัพท์และวาดภาพคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกัน ใช้อุปกรณ์ช่วยสำหรับการทำบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมความหมายและตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษ สร้างจุดเด่นของลักษณะคำศัพท์กลุ่มนั้น การให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการสอนและการกำหนดเป้าหมายอย่างง่ายๆแต่ทำอย่างสม่ำเสมอ
Ø การเรียนการสอนไวยากรณ์เป็นการกล่าวถึงสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้ผู้เรียนไวยากรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ
รู้จักสังเกต(Notice) เนื้อหาทางภาษาที่ใช้ในสาร(text) เข้าใจ(understand) รูปแบบของภาษา(form) ลองใช้(Try Things Out) ้ และมีโอกาสได้ฝึกใช้(Have Opportunity) ้
และการใช้ (use) ทั้งในการพูดและการเขียนทั้งนี้ต้องให้นักเรียนได้ฝึกทำซ้ำซ้ำอย่างสม่ำเสมอ
Ø การเรียนการสอนทักษะการฟัง
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทักษะการฟังตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร มี 3
ขั้นตอนได้แก่กิจกรรมก่อนการฟัง
กิจกรรมระหว่างฟัง
และกิจกรรมหลังฟัง
Ø การเรียนการสอนทักษะการพูดการสอนทักษะการพูดแบ่งออกเป็น
2 ระดับได้แก่
-
ระดับเตรียมตัว สอนให้พูดเรียนแบบตัวอย่าง
-
ระดับแสดงออก
เมื่อผู้เรียนสามารถจดจำคำและประโยคได้พอควรแล้วจะสามารถพูดแสดงความตั้งใจของตนเองออกไปให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆได้
Ø การเรียนการสอนทักษะการอ่าน การจัดกิจกรรมการสอนทักษะการอ่านตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารมี
3 ขั้นตอนได้แก่กิจกรรมก่อนการอ่าน (pre – listening) กิจกรรมระหว่างการอ่าน
(while – listening) และกิจกรรมหลังการอ่าน (post – listening)
Ø การเรียนการสอนทักษะการเขียน ทักษะการเขียนเป็นทักษะการส่งสาร(productive
skill)
ชั้นเดียวกับทักษะการพูด
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการเขียนมี 3 ขั้นตอนได้แก่ การนำเสนอเนื้อหา/การนำเข้าสู่บทเรียน(presentation) การฝึกปฏิบัติ/การเรียบเรียงเนื้อความ
(practice)
และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร/สร้างสรรค์งานเขียน (production/creating texts)
ในปัจจุบันช่วงศตวรรษที่ 21 ถ้าเรียนการสอนต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ครูผู้สอนควรเน้นเรื่องการใช้ภาษาในสถานการณ์ที่เกิดจริง และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทั้งในบทบาทของผู้ส่งสาร(sender) ผู้รับสาร(Receiver) เพื่อนำไปสู่ปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นในชั้นเรียนชุมชนและสังคม
ผู้เรียนจะมีการใช้ภาษาอังกฤษในหลากหลายบริบทและในทุกทักษะ
เพราะในปัจจุบันมีความต้องการใช้ภาษามีมากขึ้นเพื่อตอบรับนโยบายของสมาคมอาเซียน
โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งเป้าหมายว่านักเรียนที่จะจบชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ทุกคนต้องสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ เด็กไทยจะต้องมีความพยายาม อดทน
วิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาการเรียนที่เป็นวิชาทักษะ ไม่มีสูตรสำเร็จได้ตายตัว สำหรับเด็กไทยในปัจจุบันจะต้องมีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนและจะต้องมีโอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริงได้มากที่สุด
และในการเรียนภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพจะต้องมีองค์ประกอบของมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น