วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Fourth : (Learning log 1st September, 2015)




Fourth : Learning log ( 1st September, 2015)

การศึกษาของไทย

การศึกษาของเด็กไทยที่ผ่านมา มีความพยายามในการยกระดับมาตรฐานทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนเพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยในแต่ละปี ผลที่ออกมามักอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐานแม้ประเทศไทยจะมีการทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรียนฟรี 15 ปี รวมถึงโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตรครู 5 ปี  การประเมินวิทยฐานะ ซึ่งทำให้ครูที่มีผลงานดีได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่เหตุใดปัญหาการศึกษาของเด็กไทยยังมีการประเมินว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งปัญหาด้านการเรียนของเด็กไทยในปัจจุบันอาจวิเคราะห์ได้ว่ามาจากหลายประการ เช่น ปัญหาของระบบการศึกษาไทยที่ยังคงล้มเหลวอยู่ในปัจจุบัน ปัญหาของผู้เรียนขาดคุณธรรมจริยธรรม และปัญหาการเมืองกับการศึกษา เมื่อหลายๆปัญหามารวมกันต่างก็ทำให้การศึกษาในประเทศไทย ปัญหาเหล่านี้คือปัญหาคาราคาซังที่ส่งผลต่อประเทศชาติมาหลายยุคหลายสมัย แต่ก็ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดการพัฒนาในด้านที่ดีขึ้นแต่อย่างไร หนำซ้ำผู้ที่ได้รับปัญหาโดยตรงที่สุดคือเยาวชนไทยที่จะต้องเข้าสู่ระบบการศึกษาที่ยังเป็นปัญหาเหล่านี้อยู่ทุกปี
ในปัจจุบัน การศึกษาไทยนั้นตกต่ำลงอย่างมาก และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในเร็ววันนี้ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นแทบจะกลายเป็นปัญหาคาราคาซัง ซึ่งปัญหาเหล่านี้คือปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเหล่าเด็กไทยที่เข้าเรียนในระบบการศึกษาไทย และปัญหาเหล่านี้ แทบจะเห็นกันอย่างชินชา เช่นปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษาพื้นฐานตกต่ำ ในการจัดการทดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test: O-Net) ในทุกๆปีนั้น ผลที่ออกมามักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกๆปี นั่นก็คือ เด็กไทยมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐานอยู่เสมอๆ หรือแม้แต่การศึกษาขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economics Co-operation and Development, OECD) ที่รู้กันในชื่อของ PISA (Programme for International Students Assessment) พบว่านักเรียนไทยที่จัดได้ว่ามีความรู้วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูงมีเพียง 1% เท่านั้นเอง ทั้งๆที่เราใช้เวลาในการเรียนการสอนมากกว่า 8 ชม. ต่อวัน และปัญหาของครูก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ
ปัญหาของครูเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญซึ่งส่งผลต่อการศึกษาในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
ในประเทศฟินแลนด์ ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่คุณภาพการศึกษาสูงอันดับต้นๆในโลก วิชาชีพที่ประชาชนนิยม และให้การยอมรับนับถือมากที่สุดคือ วิชาชีพครู แต่ในประเทศไทย สังคมกลับเห็นว่าในปัจจุบันวิชาชีพนี้ ไม่เป็นที่นิยมเท่ากับการประกอบอาชีพหมอ หรือวิศวกรตามที่สังคมได้คาดหวัง ประเทศไทยมีการผลิตครูมากถึงปีละประมาณ 12,000 คน ในขณะที่อัตราการบรรจุครูใหม่ในแต่ละปีมีเพียง 3-4 พันคนเท่านั้น ซึ่งในแต่ละปี บัณฑิตครูที่จบออกมาใหม่จะมีการตกงานเบื้องต้นเกือบหนึ่งหมื่นคน แต่ในภาพรวมประเทศไทยยังนับว่าขาดแคลนครู โดยเฉพาะครูในสาขาวิชาสำคัญๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา เป็นต้น ยังพบอีกว่า ไม่มีความชัดเจนทางนโยบายในการที่จะสนับสนุนให้ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่ตรงกับเนื้อหาสาระ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเกิดแรงจูงใจให้คนเก่งมาเป็นครูเมื่อครูไม่เก่ง เด็กจะเก่งได้อย่างไร และปัญหาขาดแคลนบัณฑิตแต่บัณฑิตก็ยังตกงานก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
ประเทศไทยของเราไม่มีแผน และกลไกการกำกับการผลิตกำลังคนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ในขณะที่ผู้สำเร็จการศึกษาในบางสาขามีมากมายจนล้นงาน ในการรับสมัครงานบางตำแหน่ง มีผู้สมัครหลายหมื่นคนเพื่อแย่งกันเข้าทำงานที่มีการรับเพียงไม่กี่สิบอัตรา แต่บางสาขาวิชากลับขาดแคลนกำลังคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม และทางด้านการแพทย์ เราต้องการให้มีผู้เข้าศึกษาสายอาชีวะประมาณครึ่งหนึ่ง จึงจะทำให้มีกำลังคนเพียงพอต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า มีผู้เข้าเรียนอาชีวะเพียง 27% ทั้งนี้ นับรวมถึงผู้ที่ไม่ได้เรียนสายอาชีวะแท้ แต่ไปเรียนอยู่ในวิทยาลัยอาชีวะด้วย เช่น สาขาด้านการบริหาร ซึ่งหมายความว่า หากนับสายช่างจริงๆ จะมีจำนวนน้อยกว่านั้นมาก กลายเป็นว่าในปัจจุบันเด็กที่เข้าเรียนในการจัดการศึกษาในระบบนั้นมีอนาคตที่ค่อนข้างชัดเจนว่าจะต้องตกงาน และปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด  และคุณภาพอุดมศึกษาก็เป็นส่วนสำคัญที่จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาการศึกษาในประเทศไทยให้ก้าวไกล
มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มมีปัญหาเรื่องหาคนเข้าเรียน ทำให้ประสบปัญหาเรื่องความคุ้มทุน นำไปสู่ความจำเป็นที่ต้องดำเนินการด้านการตลาดทุกวิถีทาง และมุ่งเปิดสอนแต่สาขาวิชาที่ทำได้ง่าย ต้นทุนต่ำ และได้เงินเร็ว ซึ่งระบาดไปทุกระดับชั้นปริญญา  แต่ขณะเดียวกันก็มีการขาดแคลนในสาขาวิชาที่ยากๆ มหาวิทยาลัยจำนวนมากมุ่งหาเงินจนเป็นระบบการศึกษาเชิงปริมาณ ความจำเป็นที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดเช่นนี้ อาจพอเข้าใจได้สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนซึ่งต้องแบกภาระค่าดำเนินการต่างๆ ด้วยรายได้ที่ต้องหามาเองซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ได้กระจายเข้าไปสู่มหาวิทยาลัยของรัฐด้วย ในรูปแบบของการเพิ่มจำนวนนักศึกษาโดยตรง หรือการจัดทำเป็นโครงการพิเศษในลักษณะต่างๆ รวมทั้งเปิดสอนนอกสถานที่ตั้ง ซึ่งหากวิเคราะห์การเงินของโครงการเหล่านี้แล้วจะพบว่าส่วนใหญ่กลายเป็นค่าสอนของอาจารย์ สถานการณ์เช่นนี้ลุกลามไปจนถึงขั้นที่เรียกได้ว่า “ปริญญาเฟ้อ” ทุกระดับชั้นปริญญา กลายเป็นค่านิยมของสังคมที่ต้องเรียนอย่างน้อยถึงปริญญาโท และกำลังจะคุกคามต่อไปถึงปริญญาเอก อีกส่วนที่สำคัญมากในการที่จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้านั่นคือ “การวิจัย”
งานวิจัยในปัจจุบันต้องเป็นงานวิจัยที่เป็นทั้งองค์ความรู้ทางด้านการศึกษา และสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมประเทศชาติได้ควบคู่กับการเชื่อมโยงกับศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่ง ปัจจุบันต้องยอมรับว่าทุนวิจัยค่อนข้างมีจำกัด ซึ่งไทยมีงบประมาณสนับสนุนงานวิจัย ประมาณ 0.25-0.3 ของจีดีพี เมื่อเทียบกับต่างประเทศงบที่ใช้ประมาณ 3-5 ของจีดีพี ถือว่างบวิจัยของไทยน้อยมาก นอกจากเรื่องของงบประมาณ ไทยยังขาดแคลนนักวิจัยค่อนข้างมาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยต่างๆ ในการผลิต กระตุ้นให้คนรุ่นใหม่หันมาเป็นนักวิจัยมากขึ้น โดยสร้างแรงจูงใจในการยอมรับ ตำแหน่งหน้าที่การงานเมื่อบัณฑิตจบออกไป ขณะเดียวกันก็ให้ทุนวิจัยแก่นักศึกษาปริญญาโทและเอก เพื่อเป็นการสร้างคน สร้างองค์ความรู้ จึงอยากให้นักเรียน นักศึกษา นักวิจัยรุ่นใหม่-เก่า ช่วยผลิต สร้างสรรค์งานวิจัยอันเป็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ไม่ใช่งานวิจัยเพื่อตำแหน่ง หรือตั้งอยู่บนหิ้ง คุณธรรมจริยธรรมก็เป็นปัญหาสำคัญในตัวผู้เรียนของประเทศไทยในปัจจุบัน
คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง คุณลักษณะที่เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติ ตลอดจนการคิดในทางที่ถูกต้อง ดีงาม มีคุณประโยชน์ทั้งตนเอง ละส่วนรวมสามารถควบคุมตนเองในการประพฤติปฏิบัติ และการปรับตัวเพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขในสังคมการสร้างความรู้คู่คุณธรรมเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกแถลงกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน  เพราะดูจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะมาเป็นตัวช่วยในการกำหนดพฤติกรรมให้คนในสังคมไทยได้สำนึกในความเป็นไทย, สำนึกต่อประเทศ และสังคม นอกเหนือจากการเป็นเพียงแค่ คนเก่งแล้วต้องเป็น คนดี”   อันนับว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ ต้นเหตุเป็นการ ป้องกันอย่างแท้จริง.แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีสงบสุขได้นั้น  จึงเกิดแนวคิดว่าจะต้องพัฒนาร่างกายให้แข็งแรงควบคู่กับการพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคง  ไม่หวั่นไหว พร้อมทั้งพัฒนาสมองให้มีวิชาความรู้มีสติปัญญา มีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงามจึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข   แนวทางการปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนก็มีหลายรูปแบบ
แนวทางการปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนการทำซ้ำ ๆ   การปลูกฝังคุณธรรมโดยการทำซ้ำๆ นับเป็นหัวใจสำคัญของความจำ ซึ่งเป็นคำของนักปราชญ์ ที่มีมาแต่โบราณ ในสอนแก่บุตรหลานให้รู้จักทำดี  ซึ่งหมายถึง การที่จะให้มนุษย์สามารถจดจำได้อย่างดีนั้น ต้องสอนหรือให้กระทำซ้ำๆหรือบ่อยๆ ในเรื่องเดิมหรือในเรื่องที่ต้องการจะให้จดให้จำ ดังนั้นหากต้องการที่จะปลูกฝังค่านิยม หรือความคิดใดๆให้กับใครๆไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็ใช้วิธีการ ซ้ำๆซากๆด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่านิทาน, การใช้ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เครื่องบันทึกเสียง, การตั้งความหวัง, การยกคำพูดผู้อื่นมาอ้าง, การอธิบาย การเทศนา การตักเตือน, การยกย่อง สรรเสริญ ชมเชย, การแก้ไขวิจารณ์ข้อบกพร่อง, การตัดสิน และให้รางวัล การให้คะแนน การประกวด การประเมินค่า, ระเบียบข้อบังคับ, เกณฑ์, พิธีกรรมต่างๆ ขนบธรรมเนียมประเพณี, การใช้วิธีปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม เดือนละเรื่อง ให้อธิบายคำถามทางจริยธรรม, สอนจริยศาสตร์สอนเด็กให้มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น, หาวิธีให้เด็กรู้คุณค่าของตนเอง เป็นต้น และอีกรูปแบบหนึ่งของแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนได้แก่สอดแทรกคุณธรรมลงในกระบวนการเรียนรู้   
การสอดแทรกคุณธรรมลงในกระบวนการเรียนรู้   ในกระบวนการเรียนรู้สามารถพัฒนาคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้โดยไม่ต้องมีวิชาคุณธรรมให้เรียนเป็นพิเศษ เช่น การฝึกทดลองทำงานร่วมกับผู้อื่น ฝึกทดลองด้วยตนเอง เพราะการทำงานร่วมกับผู้อื่นต้องมีความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา ความอดทน ความเสียสละ ความซื่อสัตย์ สุจริต หากทำได้มากๆ บ่อยๆ ก็จะกลายเป็นเจตคติ เป็นความเชื่อ หากปฏิบัติอยู่เสมอก็จะกลายเป็นความเคยชิน เป็นสำนึกที่จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นอยู่เสมอ            การปลูกฝังคุณธรรม  ต้องเลือกว่าจะปลูกฝังเรื่องใดแก่ใครก่อน แล้วจึงออกแบบวิธีการต่างๆข้างต้น สุดท้ายจึงนำไปฝังให้กับบุคคลเป้าหมาย โดยผ่านทางประสาทตา หู หรือประสาทสัมผัสอื่นๆ เพื่อให้เข้าไปอยู่ในบันทึกความทรงจำของสมอง โดยการทำซ้ำๆซากๆ กลายเป็นความทรงจำ ความเชื่อ และสำนึก     สุดท้ายการพัฒนาจิตใจให้มีความรู้คู่คุณธรรมนั้นก็ต้องพัฒนาผู้ใหญ่ควบคู่กันไปไม่ว่าจะเป็น  พ่อแม่ ครูอาจารย์  ข้าราชการ นักการเมืองซึ่งส่งผลต่อปัญหาการเมืองกับการศึกษา
การเมืองกับนโยบายทางการศึกษา  การเมืองมีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดทิศทางเป้าหมายของการดำเนินการและพัฒนาส่วนต่าง ๆ  ของสังคม การศึกษา ของประเทศ ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาจึงจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจนโยบายด้านการศึกษาของฝ่ายการเมืองให้กระจ่างชัด  เพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลตามเจตนารมณ์ของฝ่ายการเมือง ปัจจัยด้านการเมืองเป็นปัจจัยที่สำคัญเกี่ยวกับการขับเคลื่อนทางการศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้า  การปฎิรูปการศึกษาขึ้นอยู่กับการเมืองเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าระบบการเมืองมีเงื่อนไขที่เป็นอปสรรค์ก็จะทำให้การเมืองไทยไม่ก้าวหน้า เช่นการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการบ่อย ๆ  ก็จะทำให้มีการกำหนดนโยบายใหม่ๆมาเสมอ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่อยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ไม่มีความก้าวหน้าทางการศึกษา ความไม่สอดคล้องของ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น