กลยุทธ์ในการเรียนภาษา
ในยุคที่ภาษาอังกฤษกำลังเฟื่องฟู
มีการใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกมุมโลก
ทำให้มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลายลักษณะยิ่งขึ้นกว่าเดิม
เกิดมีโรงเรียนสองภาษาและโรงเรียนสามภาษา ที่มีภาษาอังกฤษเป็นตัวร่วมอยู่ด้วย มีโปรแกรมอินเตอร์ที่ใช้ภาษาอังกฤษล้วนในการเรียนการสอน
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษนอกเหนือจากการเรียนวิชาภาษาอังกฤษโดยตรงจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะมากขึ้น
ถ้าหากสอนวิชาอื่นๆเป็นภาษาอังกฤษด้วยยิ่งมากเท่าใด
ผู้เรียนก็จะเก่งมากขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันมีการศึกษานอกระบบที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษในรูปแบบต่างๆมากมาย
ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเรียนภาษาอังกฤษด้วย
ถึงแม้จะมีการเรียนภาษาอังกฤษได้หลายรูปแบบ
แต่ก็ยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอยู่เช่นเดิม
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบันยังคงมีปัญหาในเรื่องคุณภาพมาตรฐาน
กล่าวคือ ผู้เรียนส่วนใหญ่ในทุกระดับยังไม่รู้ภาษาอังกฤษพอที่จะสามารถฟัง พูด อ่าน
เขียน และแปล ในขั้นที่ใช้การได้อย่างแท้จริง
เมื่อมีการหยิบยกปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษขึ้นมาวิจารณ์
ส่วนใหญ่จะมองไปที่ปัจจัยภายนอกผู้เรียน กล่าวคือ
โทษครูผู้สอนว่าขาดความรู้ความชำนาญในการใช้ภาษาและขาดวิธีการสอนที่ได้ผล
โทษตำราเรียนและสื่อการเรียนการสอนว่าขาดคุณภาพ
โทษสถานศึกษาว่าจัดหลักสูตรภาษาอังกฤษน้อยเกินไป
โทษนโยบายของรัฐว่าขาดยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษา และโทษสภาพแวดล้อมทางสังคมว่าไม่เอื้อต่อการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง
ข้าพเจ้าคิดว่าการจะเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลย่อมต้องมีปัจจัยหลายด้านมาประกอบกัน
แต่ตัวผู้เรียนสำคัญที่สุด
ผู้เรียนภาษาอังกฤษจะต้องหันมาพัฒนาตนเองด้วยการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น
และปรับมุมมองต่อภาษาอังกฤษเสียใหม่
ผู้เรียนภาษาอังกฤษจึงควรปรับท่าทีเสียใหม่
แทนที่จะมองแต่ข้อเสียหรือปัจจัยเชิงลบจนทำให้เกิดความท้อแท้
ควรจะหันมามองหาข้อดีและใช้ประโยชน์จากปัจจัยเชิงบวกให้มากที่สุด
และควรตระหนักว่าเราไม่ควรที่จะหวังพึ่ง “ระบบ”
(ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยภายนอก) ในการแก้ไขปัญหาต่างๆคงจะไม่ได้การเสียแล้ว
ตัวผู้เรียนจำเป็นต้องเป็นฝ่ายหันกลับมาพัฒนาปัจจัยภายในด้วยการพึ่งตนเองให้มากขึ้น
มีเจตคติที่ดีต่อภาษาที่เรียน มีแรงจูงใจใฝ่เรียนสูง
และควรมีความพยายามและทุ่มเทมากพอ
แต่การที่จะพึ่งตนเองในการเรียนภาษาอังกฤษจนสัมฤทธิผลนั้นจำต้องดำเนินไปอย่างเป็นระบบ
หรือมีระเบียบแบบแผน โดยอาจมีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้ คือ
กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย รู้จักจัดเตรียมและแสวงหาแหล่งความรู้
พัฒนากลยุทธการเรียน และลงมือปฏิบัติ
ข้าเจ้าคิดว่าหากเราปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้เราก็จะเรียนภาษาอังกฤษได้ดี
การเรียนภาษาอังกฤษให้สัมฤทธิผลผู้เรียนจะต้องมีระเบียบแบบแผน
เริ่มตั้งแต่ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ก็ควรกำหนดให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นว่าจะสามารถทำอะไรได้แค่ไหน (ฟัง พูด อ่าน เขียน
และแปล) ภายในกรอบเวลาเท่าใด เช่น เรียนรู้ศัพท์ใหม่ (วิธีออกเสียง ความหมาย
วิธีการใช้คำในประโยค ฯลฯ) วันละ 5-10 คำ
ทั้งนี้ต้องให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงด้วย โดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้
ความถนัด และการจัดสรรเวลา เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้แล้ว
ก็ต้องรู้จักจัดเตรียมและเสาะหาสื่อและแหล่งความรู้ที่เอื้อต่อการฝึกทักษะด้วยตนเอง
เช่น ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับภาษาที่ใช้จริงจาก website ต่างๆ
ขั้นตอนต่อไปก็ต้องพัฒนากลยุทธ์ในการเรียน
โดยปรับแต่งกลยุทธ์ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
และอาจนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนภาษาอื่นได้ด้วย
กลยุทธ์ในการเรียนภาษามีองค์ประกอบทั้งสิ้น
10 ประการ
ซึ่งแต่ละองค์ประกอบต่างก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ซึ่งจะสามารถอธิบายขยายความได้ดังนี้
1.ศึกษา : การเรียนภาษาจะต้องเริ่มจากความรู้เกี่ยวกับตัวภาษาโดยตรงก่อนเสมอ
ความรู้ที่เปรียบเสมือนเสาหลักมีอยู่ 2 ด้าน คือ
ศัพท์และไวยากรณ์ ศัพท์คือถ้อยคำที่ใช้แทนความหมาย ส่วนไวยากรณ์ คือ
ระเบียบกฎเกณฑ์ว่าด้วยการนำถ้อยคำมาร้อยเรียงประกอบกันให้เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้น
เพื่อใช้สื่อความหมายได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากตัวเนื้อภาษาแล้วยังมีความรู้อีก 2 ด้านใหญ่ที่ไม่ควรละเลย คือ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษาและความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของภาษา
ซึ่งจะเป็นความรู้ประกอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนภาษาเข้าใจภาษาที่ศึกษาได้แจ่มแจ้งลึกซึ้งยิ่งขึ้น
และช่วยให้สามารถใช้ภาษาสื่อสารกับเจ้าของภาษาได้อย่างมีประสิทธิผลอีกด้วย
ในการเรียนภาษาจำเป็นจะต้องเรียนเนื้อหาและฝึกทักษะควบคู่กันไป
ไม่ใช่ฝึกแต่ทักษะอย่างเดียว ศัพท์และไวยากรณ์
ถือได้ว่าเป็นตัวเนื้อหาหลักของภาษาโดยตรง และต้องอาศัยการฝึกฝนด้วย
2.ฝึกฝน : การเรียนภาษาแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆเป็นส่วนใหญ่
ตรงที่ว่าต้องมีสองด้านควบคู่กัน คือ ความรู้และทักษะ ความรู้เป็นภาคทฤษฎี
ส่วนทักษะเป็นภาคปฏิบัติ การเรียนแต่ภาคทฤษฎีไม่ฝึกปฏิบัติ
ย่อมไม่อาจทำให้บรรลุเป้าหมาย คือ สามารถใช้ภาษาได้
การฝึกทักษะทางภาษาคือการฝึกพฤติกรรมการใช้ภาษาซ้ำแล้วซ้ำอีกจากข้อมูลความรู้ทางภาษาของผู้เรียนจนสามารถสื่อสารได้คล่องแคล่วนั้นเอง
การที่จะฝึกใช้ภาษาให้ได้ผล จำต้องผ่าน “อินทรีย์” หลายทางควบคู่กัน คือ ตา-หู-ปาก-มือ ตา-ดู
ครอบคลุมทั้งการอ่านและการดูตลอดจนการสังเกต หู-ฟัง
ครอบคลุมทั้งการฟังทั้งเสียงและน้ำเสียง ปาก-พูด
หมายถึงการออกเสียง การพูดสนทนา มือ-เขียน
ได้แก่การเขียน หัว-คิด
หมายถึงสมรรถนะทางปัญญา ใจ-รัก
หมายถึงสมรรถนะทางจิตใจ
ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเรา
ข้าพเจ้าคิดว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ยังฝึกใช้ภาษาน้อยเกินไปในทุกทักษะ
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ใช้ภาษาอังกฤษได้ไม่คล่อง
นอกจากนี้เราควรจะฝึกการสังเกตไว้
3.สังเกต : ภาษาอังกฤษมีเนื้อหาอยู่มาก
บางเรื่องก็เป็นเรื่องซับซ้อน ซึ่งผู้ไม่คุ้นจะรู้สึกว่าเข้าใจยาก
บางเรื่องก็เป็นลักษณะของภาษาเอง
ไม่อาจใช้เหตุผลคาดคะเนหรือใช้ตรรกะหยั่งรู้เอาได้
ผู้เรียนภาษาที่ดีจึงต้องฝึกเป็นคนช่างสังเกต มีความละเอียดถี่ถ้วนรอบคอบในการเรียนและการใช้ภาษา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องใส่ใจเรื่องใหญ่ๆดังต่อไปนี้ ไวยากรณ์ เช่นโครงสร้างของวลีและประโยค,
การเรียงลำดับคำ, การผันรูปตามกริยา tense ศัพท์ เช่น
ชนิดของคำ (ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยท้ายศัพท์ และมีนัยสำคัญทางไวยากรณ์) คำที่มีหลากหลายความหมาย
คำที่มักปรากฏร่วม ภาษาสำเร็จรูป (ซึ่งมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างศัพท์กับไวยากรณ์)
ได้แก่โวหาร ซึ่งใช้สื่อความหมายใยสถานการณ์ต่างๆตามความนิยมการใช้ภาษา
และสำนวนซึ่งมีความหมายแตกต่างจากความหมายของถ้อยคำที่นำมารวมกัน
ตลอดจนสุภาษิตซึ่งใช้แทนถ้อยคำที่ใช้ทั่วไป แต่สื่อความหมายได้กระชับ
และยังให้คติสอนใจอีกด้วย และผู้เรียนควรฝึกการท่องจำด้วย
4.จดจำ : ความจำเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนรู้ทุกชนิด
รวมทั้งการเรียนภาษาด้วย การเรียนภาษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาต่างประเทศในหลายๆกรณี
การฝึกฝนตามครรลองปรกติจนจำเองได้อาจไม่เพียงพอ แต่ต้องอาศัย “การท่องจำ” มาเสริม
กล่าวคือท่องปากเปล่าเพื่อให้จดจำถ้อยคำหรือข้อความจนสามารถเรียกกลับมาใช้ได้ดังใจต้องการ
ผลเสียจากการที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันทิ้งการท่องจำ
มีตัวอย่างที่เห็นตัวอย่างชัดเจนเรื่องหนึ่ง คือ ไม่สามารถใช้รูปกริยาที่ผันรูปผิดปรกติได้ถูกต้อง
บางครั้งจะอาศัยการท่องปากเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ
จำต้องอาศัยการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแทน หรือควบคู่ไปกับการท่องปากเปล่า
สิ่งที่จดบันทึกไว้ยังสามารถใช้ตรวจสอบหรืออ้างอิงภายหลัง ด้วยเหตุนี้ในชั้นเรียนเมื่อมีการให้ความรู้ในภาคทฤษฎี
โดยเฉพาะเรื่องวิธีใช้และประเด็นไวยากรณ์ที่ซับซ้อน จึงมักเตือนผู้เรียนว่าต้อง “จำใส่สมุด
จดใส่สมอง หรือ จดใส่กระดาษ จำใส่กะโหลก” และอีกหนึ่งที่สำคัญคือการเลียนแบบ
5.เลียนแบบ : แต่ละภาษาจะมีสัญนิยม (concention) ของตนเอง อันเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างคนที่ใช้ภาษาเดียวกัน
มิฉะนั้นจะสื่อสารกันไม่ได้เลย
คนที่เป็นสมาชิกใหม่ของประชาคมที่ใช้ภาษานั้นต้องยอมรับ ศึกษา
และใช้ตามสัญนิยมนั้น ด้วยเหตุนี้การเรียนภาษาอจึงต้องอาศัยการเลียนแบบทุกขั้นตอน
เริ่มจากเด็กที่เรียนภาษาย่อมต้องหัดพูดตามหรือเลียนแบบภาษาของพ่อแม่และบุคคลอื่นในครอบครัว เมื่อเข้าสู่วัยเรียน
นักเรียนนักศึกษาก็จะเลียนแบบภาษาพูดของอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้น แม้เมื่อเรียนสำเร็จและออกมาประกอบอาชีพแล้ว
คนในแต่ละสาขาอาชีพก็จะมีภาษาในแวดวงของตนเองที่จะต้องเลียนแบบและใช้ตามเพื่อที่จะสื่อสารกับเพื่อนร่วมชีพได้
ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างการเรียนภาษาแม่กับการเรียนภาษาต่างประเทศก็คือผู้ที่เรียนภาษาแม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเจ้าของภาษาจึงมีแหล่งข้อมูลความรู้ภาษาที่ถูกต้องมากกว่าและมีมากมายเพียงพอที่จะใช้เป็นแบบอย่างในการฝึกตามได้
ในขณะที่ผู้เรียนภาษาต่างประเทศจะมีข้อเสียเปรียบในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
เพราะขาดแคลน “แบบ” ที่ใช้ “เลียน” ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ
ส่วนการดัดแปลงก็มีความสำคัญในความคิดของข้าพเจ้า
6.ดัดแปลง: เมื่อเลียนแบบแล้วต้องรู้จักการดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุประสงค์ของการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ
การรู้จักดัดแปลงย่อมต้องอาศัยความรู้เรื่องไวยากรณ์ประกอบกับความรู้เรื่องศัพท์และสำนวน
จึงให้ข้อมูลทางไวยากรณ์ในรูปของโครงแบบกริยา(verb pattern) หรือโดยใช้รหัสไวยากรณ์ (grammar
code) เช่น
·
believe [ + that] I believe that all children are born
with equal intelligence.
·
Believe [+ object + to infinitive] I
believe her to be the finest violinist in the word.
ข้อมูลลักษณะนี้จะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้สามารถดัดแปลงถ้อยคำและโครงสร้างที่ปรากฏในประโยคตัวอย่างได้สะดวกขึ้น
เมื่อรู้จักการดัดแปลงแล้วข้าพเจ้าคิดว่าเราจะต้องเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์ด้วย
7.วิเคราะห์ : การเรียนภาษาในระดับเบื้องต้น จำต้องอาศัยการเลียนแบบอยู่มาก
แต่เมื่อเรียนในระดับสูงขึ้นก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์เข้ามาเสริม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอ่านการเขียน และการแปลวิชาการและภาษาวิชาชีพ
ซึ่งมีความซับซ้อนยิ่งกว่าภาษาทั่วไป การวิเคราะห์มีได้ใน 3 ระดับใหญ่ๆคือ ระดับศัพท์ : คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของศัพท์และสำนวน ระดับไวยากรณ์
คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของวลีและประโยค และ ระดับถ้อยความ (discourse)
คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายระหว่างประโยค
ตลอดจนโครงสร้างและความหมายโดยรวมที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการสื่อ
เมื่อวิเคราะห์แล้วเราก็ต้องมีการค้นคว้า
8.ค้นคว้า : ความรู้ที่มีอยู่ในตำรา แบบเรียน
หรือสื่อการเรียนอื่นๆยังมีไม่เพียงพอ ผู้เรียนจำต้องค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษล้วนสำหรับผู้เรียนภาษา
ซึ่งให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์สารพัดด้านไว้อย่างครบครัน
ไม่เฉพาะแต่ให้ความหมายของคำศัพท์เท่านั้น
ผู้เรียนภาษาอังกฤษจะต้องตื่นตัวและพึงพาตนเองให้มากขึ้น
อย่างน้อยก็ต้องรู้วิธีใช้สัทอักษร (phonetic
alphabet) ประกอบกับการฟังวิธีการออกเสียงจริงโดยเจ้าของภาษาจากแผ่นซีดีรอมที่มาพร้อมกับพจนานุกรมภาษาอังกฤษล้วนสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษ
และผู้เรียนภาษาอังกฤษต้องได้รับการปลูกฝังนิสัยในการรู้จักค้นคว้าก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการใช้ภาษา
เมื่อมีความมั่นใจในการใช้ภาษาแล้วก็จะสามารถนำไปใช้งานได้
9.ใช้งาน : เมื่อเรียนรู้ภาษาไปบ้างแล้วก็สมควรจะใช้งานจริงในภาคสนามด้วย
เพื่อทดสอบดูว่าความรู้และทักษะที่ได้ศึกษาเรียนรู้มานั้นเพียงพอหรือไม่
ด้วยเหตุนี้ในมหาวิทยาลัยต่างประเทศบางแห่ง
จึงมีข้อกำหนดสำหรับนักศึกษาวิชาเอกภาษาต่างประเทศให้ไปเรียนในประเทศเจ้าของภาษาอย่างน้อยหนึ่งภาคการศึกษา
การมีโอกาสไปใช้ชีวิตในต่างประเทศเช่นนี้ทำให้ได้ใช้ภาษาในสภาพจริงอย่างเต็มที่
ได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
เป็นปัจจัยที่เสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาได้อย่างดียิ่ง
และทำให้ได้ตระหนักถึงจุดอ่อนจุดแข็งของตน เนื่องจากได้เรียนรู้ “ของจริง”
ซึ่งบางครั้งอาจแตกต่างอย่างมากในประเทศของเจ้าของภาษา
เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ได้เป็นอย่างดี
เมื่อมีการใช้งานแล้วก็ควรมีการปรับปรุง
10.ปรับปรุง ในการฝึกฝนการใช้ภาษาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตจริง
ผู้เรียนภาษาที่ดีต้องช่างสังเกตและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดบกพร่อง ไม่ว่าในแง่
ศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ วิธีออกเสียง หรือในด้านอื่นๆก็ตาม
เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขด้วยการศึกษา ฝึกฝน วิเคราะห์ ค้นคว้า
และหาโอกาสไปทดสอบใหม่ เพื่อวัดความก้าวหน้าและพัฒนาการในการใช้ภาษาในด้านต่างๆ
ว่าเราสามารถใช้ภาษาได้ดีเท่าไร ถ้าเราสามารถใช้ภาษาสื่อสารกับเจ้าของภาษาได้ดี
เราก็ควรที่จะฝึกฝนให้การใช้ภาษานั้นดียิ่งๆขึ้นไป อย่าคิดว่าตนเองเก่งแล้ว
จงอย่าหยุดนิ่ง
เราต้องระลึกเสมอว่าการเรียนภาษาอังกฤษจะเรียนได้ดีและสัมฤทธิผลนั้นจะต้องอาศัยการ
practice, practice, and practice และรู้จักปรับปรุงตนเองอยู่เสมอตลอดเวลา
ต้องหาข้อบกพร่องของตนเองให้ได้
ดิฉันคิดว่ากลยุทธ์ในการเรียนภาษานั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ข้าพเจ้าได้นำกลยุทธ์ในการเรียนภาษาในข้อที่
10 คือการปรับปรุงมาปรับใช้กับตนเอง โดยข้าพเจ้าจะฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
ข้าพเจ้าเชื่อว่าไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการเรียนรู้
หากเราเริ่มเปิดรับภาษาอังกฤษเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวัน
โดยข้าพเจ้าจะเริ่มฝึกโดยการฟัง โดยการหาคลิปสอนภาษาที่พูดช้าๆ มาฟังก่อน เฉพาะใน Youtube ก็มีสอนอยู่มากมายนับไม่ถ้วน เช่นช่องของ Learn English with EnglishClass101.com, Anglo-Link, Speak English With Misterduncan, Rachel's English,
JenniferESL ฯลฯ
โดยข้าพเจ้าจะฝึกในช่วงที่มีเวลาว่างหลังเลิกเรียน
โดยเริ่มแรกที่ฝึกข้าพเจ้าก็ยังไม่คุ้นเคยกับสำเนียงการพูดของเจ้าของภาษา
แต่ถ้าฟังไปทุกๆวันก็จะเริ่มคุ้นเคยไปเอง โดยเราจะต้องนำภาษาภาษาอังกฤษเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้
ข้าพเจ้าได้เปลี่ยนการตั้งตั้งค่าอุปกรณ์ต่างๆ
เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน โทรทัศน์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ เป็นเมนูภาษาอังกฤษให้หมดเลย รวมถึง Facebook, Line, Instargram, Twitter, beetalk และโซเชียลมีเดียต่างๆ
ที่ใช้งานเป็นประจำวันเป็นภาษาอังกฤษอีกด้วย เพื่อที่จะได้รู้สึกคุ้นชินกับภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังฝึกการฟังสำเนียงของเจ้าของภาษา โดยการดูหนังภาษาต่างประเทศ
ข้าพเจ้าชอบดูภาพยนตร์แนวสืบสวนสอบสวน
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเลือกที่จะดูภาพยนตร์เรื่อง NCIS เพราะ NCIS
เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการทำงานของหน่วยสืบสวนคดีอาชญากรรมและฆาตกรรมโดยใช้หลักนิติวิทยาศาสตร์
โดยการรวบรวมพยานหลักฐาน ข้าพเจ้าคิดว่าการดูภาพยนตร์นอกจากให้ความบันเทิงแล้ว
การพัฒนาทักษะการฟังด้วยวิธีนี้จะทำให้เราคุ้นชินกับภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้น
ข้าพเจ้าได้ตั้งเป้าหมายกับตนเองไว้ว่าข้าพเจ้าจะต้องเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ
(วิธีการออกเสียง ความหมาย วิธีการใช้คำในประโยค ฯลฯ) วันละ 5 คำ โดยข้าพเจ้าจะเลือกเอาศัพท์ที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
โดยข้าพเจ้าจะหาคำศัพท์ตามเว็บไซต์ดิกชั่นนารีออนไลน์ส่วนใหญ่ เช่น Dictionary.com , Oxford
Dictionaries และ Cambridge Free English Dictionary and
Thesaurus ซึ่งจะมีการหยิบคำศัพท์น่าสนใจขึ้นมาเป็น
Word of the Day ให้ผู้ใช้งานได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มเติม เช่น คำว่า “protean” ก็จะมี Definitions
for protean, Citations for protean และ Origin of protean การที่เราพยายามปรับปรุงตนเองตามกลยุทธ์การเรียนภาษานั้นจะทำให้เราสามารถพัฒนาตนเองได้ดียิ่งขึ้น
จนเราสามารถใช้ภาษาอังกฤษในขั้นที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ
ได้แก่ ศึกษา , ฝึกฝน, สังเกต, จดจำ, เลียนแบบ, ดัดแปลง, วิเคราะห์, ค้นคว้า, ใช้งาน
และปรับปรุง ซึ่งทั้งสอบกลยุทธ์นี้มีความเกี่ยวเนื่องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
จำเป็นต้องนำมาใช้บ่อยๆ ใช้อย่างสม่ำเสมอ และยังต้องใช้ต่อเนื่องไปตลอดไปอีกด้วย
จึงจะบังเกิดผล
เพราะว่ากระบวนการเรียนภาษาถือเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินไปตลอดชีวิต (ดังที่มีผู้นำคตินี้มาตั้งชื่อเป็นหนังสือว่า
Language Learning : A Lifelong Process) ความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาเป็นสิ่งที่ต้องบ่มสะสมเป็นเวลานาน
มิใช่จะได้มาเพียงผ่านการกวดวิชาหรือฝึกอบรมเข้มเพียงไม่กี่สิบชั่วโมง
ดังที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน การที่จะเรียนภาษาได้ดีจะต้องสะสมความรู้ ทักษะการฟัง
พูด อ่าน เขียน และประสบการณ์เป็นเวลานาน
ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลาย
มีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียน นอกเหนือจากการเรียนการสอนโดยตรง
มีการสอนในรายวิชาอื่นๆเป็นภาษาอังกฤษด้วย นอกจากนี้ยังมีการศึกษานอกระบบที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษในรูปแบบต่างๆมากมาย
ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงภาษาอังกฤษได้อย่างง่ายและสะดวกต่อการเรียนรู้
แต่คุณภาพมาตรฐานในเรื่องการเรียนการสอนก็ยังคงเป็นปัญหาเช่นเดิม
ผู้เรียนส่วนใหญ่ในทุกระดับยังไม่รู้ภาษาอังกฤษพอที่จะฟัง พูด อ่าน เขียน
และแปลในขั้นที่ใช้ได้จริง ทั้งๆที่ในยุคนี้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวก
รวดเร็ว และเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ทุกที่ทุกเวลา
ผู้เรียนภาษาอังกฤษจะสัมฤทธิผลได้นั้นจะต้องพึ่งตนเองให้มาก จะต้องมีระเบียบแบบแผน
มีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ และใฝ่รู้ใฝ่เรียน ทุกคนสามารถเรียนภาษาอังกฤษได้ถ้าหากมีความตั้งใจและไม่ย่อท้อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น