วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 2
11st  August , 2015

                ในสังคมโลกปัจจุบันคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “ภาษาอังกฤษ” เป็นภาษาสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเข้ามามีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตจำนวนไม่น้อย จากอิทธิพลของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลให้ภาษาอังกฤษยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร จะเห็นได้ว่าในประเทศไทย แม้รัฐบาลบังคับให้ทุกคนเรียนภาษาอังกฤษในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ก็ยังมีคนไทยจำนวนมากที่พูดภาษาอังกฤษหรือไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ทั้งๆที่รวมเวลาเรียนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือแม้แต่ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือกระทั่งปริญญาโทยังมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ การสอนภาษาอังกฤษแต่ละชั่วโมงจำเป็นต้องให้นักเรียนได้ฝึกครบทุกทักษะ ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน อีกทั้งผู้เรียนต้องเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะของการเรียนรู้ การพัฒนาตนเอง และการประเมินตนเองเพิ่มเติม เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษเรียนภาษาอังกฤษอย่างสัมฤทธิผล
                ลักษณะการเรียนรู้แบ่งได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้ คือ ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) และด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) ในทางปฏิบัติที่แท้จริง การเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย ไม่ได้แยกจากกันอย่างสิ้นเชิง แต่การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้านมีการทำงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน เช่น การวิเคราะห์ในด้านด้านพุทธิพิสัยอาจจะเกิดก่อนการประยุกต์ใช้ หรืออาจจะเกิดการจัดระบบตามมาในด้านจิตพิสัยก็ได้ ในทางการศึกษามีความมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถบรรลุถึงลำดับขั้นตอนสุดท้ายของด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย นั่นหมายถึงความสำเร็จในการผลิตนักเรียน นักศึกษาออกมาให้เป็นคนเก่งทั้งในด้าน IQ และด้าน EQ โดยลักษณะการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก คือ ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
                ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นความสามารถทางสมอง หรือความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาหลักการหรือทฤษฎีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านนี้สามารถวัดได้จากการให้ผู้เรียนแจกแจงความรู้ เขียนรายการสิ่งที่รู้ยกตัวอย่าง ประยุกต์กฎต่างๆ ที่เรียนไป หรือวิเคราะห์สถานการณ์ เป็นต้น พฤติกรรมตามระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยแบ่งไว้ 6 ขั้น ซึ่งการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป ต้องอาศัยระดับการเรียนรู้ที่ต่ำกว่าเสมอ ระดับพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยซึ่งแบ่งออกได้เป็น 6 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ความจำ ความสามารถในการจดจาสิ่งที่เรียนมาแล้ว อาจเป็นข้อมูลง่ายๆ จนถึงทฤษฎี ความเข้าใจ ความสามารถในการจับใจความการแปลความหมาย การสรุป หรือขยายความ การนำไปใช้ ความสามารถในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ การวิเคราะห์ ความสามารถในการแยกสิ่งต่างๆ ออกเป็นส่วนย่อยเหล่านั้นได้ การสังเคราะห์ ความสามารถในการรวบรวมส่วนย่อยๆ เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างใหม่ และการประเมิน ความสามารถในการวินิจฉัยคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ โดยมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ด้านจิตพิสัยเป็นลักษณะการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องจากด้านพุทธิพิสัย
                ด้านจิตพิสัย (AFFECTIVE DOMAIN) เป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เน้นหนักในด้านความสนใจ เจตคติ ค่านิยม อารมณ์และความประทับใจ ซึ่งวัดได้โดยการสังเกต แต่บางเรื่องก็ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง การระบุพฤติกรรมที่คาดหวังให้ผู้เรียนแสดงออกนั้น ต้องอาศัยการรวบรวมพฤติกรรมที่ชี้ถึงความรู้สึก เจตคติและค่านิยมของตนเองและผู้อื่น แล้วนำมาใช้ในการกำหนดเป็นพฤติกรรมที่คาดหวัง พฤติกรรมตามระดับการเรียนรู้ด้านจิตพิสัยแบ่งไว้ 5 ขั้น ได้แก่ การรับรู้ : การสนใจ ตั้งใจ ยอมรับความคิด กระบวนการ หรือสิ่งเร้าต่าง ๆ การตอบสนอง : ความเต็มใจที่จะตอบสนองต่อสิ่งที่รับรู้ การเห็นคุณค่า ความรู้สึกนิยมพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกิดการปฏิบัติตามสิ่งที่นิยม การจัดระบบค่านิยม : การนำเอาคุณค่าต่างๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้มาผสมผสานและจัดระบบเข้าด้วยกันเพื่อเสริมสร้างระบบคุณค่าขึ้นภายในตนเอง และ การกำหนดคุณลักษณะ : การนำค่านิยมที่จัดระบบแล้วมาปฏิบัติจนเป็นนิสัยเฉพาะตน ด้านสุดท้ายของลักษณะการเรียนรู้คือด้านทักษะพิสัย
                ด้านทักษะพิสัย (PSYCHOMOTOR DOMAIN) จุดประสงค์การเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะทางกาย เน้นหนักด้านการวางท่าทางให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับการปฏิบัติงานแต่ละชนิด สามารถระบุพฤติกรรมที่แสดงออกได้จากการตีความทักษะหรือการปฏิบัติออกมาเป็นพฤติกรรม ซึ่งสังเกตได้จากความถูกต้องแม่นยำ ความว่องไว คล่องแคล่ว และสม่ำเสมอ พฤติกรรมตามระดับการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยแบ่งไว้ 5 ขั้น คือ การเลียนแบบ : สามารถที่จะสังเกตและทำตามต้นแบบ การลงมือปฏิบัติ : การกระทำได้ด้วยตนเองโดยลำพัง การปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง  : เน้นความถูกต้องในการแสดงพฤติกรรมและควบคุมและลดความผิดพลาด การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและผสมผสาน : ปฏิบัติงานหลายๆ ขั้นตอนได้อย่างต่อเนื่องด้วยความถูกต้อง และ การปฏิบัติโดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ : ปฏิบัติงานด้วยความคล่องแคล่วเหมือนอัตโนมัติ แสดงออกอย่างชัดเจนถึงความชำนาญ ความถูกต้องและเที่ยงตรง
                Metacognition หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่มีต่อกระบวนการคิดของตนเอง รู้ว่าอะไรที่เหมาะสมกับตนเองในการเรียนรู้ ตลอดจนสามารถเลือกกลวิธี ในการวางแผน กากับควบคุม และประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้ เพื่อให้การเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานต่างๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบของ Metacognition มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่
(1) ความรู้
(2) การควบคุมตนเอง
(3) ความตระหนักต่อกระบวนการคิด
องค์ประกอบของ Metacognition ด้านความรู้ เป็นความสามารถของผู้เรียนเกี่ยวกับการรู้กระบวนการคิดของตนเองในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ใน 3 ด้าน ดังนี้
1) ความรู้ด้านเนื้อหาสาระ เป็นความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐาน ที่ผู้เรียนจาเป็นต้องรู้ในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน ทั้งในเรื่องความรู้เกี่ยวกับลักษณะของงาน ที่ทำ และความรู้เกี่ยวกับความสามารถของตนเอง ดังนี้
1.1) ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของงานที่ทำ เป็นการรู้ว่างานนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องใดในด้านข้อเท็จจริง คำศัพท์และนิยาม เช่น ถ้าผู้เรียนต้องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ จะต้องรู้ว่าโจทย์ปัญหานี้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาคณิตศาสตร์เรื่องใด
1.2) ความรู้เกี่ยวกับความสามารถของตนเอง เป็นความสามารถในการวิเคราะห์ตนเองว่ามีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด เช่น ผู้เรียนรู้จุดอ่อนและจุดแข็งของตนเอง รู้ว่าตนเองรู้อะไร และมีความรู้ในระดับใด เพื่อที่จะได้หาวิธีการที่เหมาะสมในการเรียนรู้ของตนเอง
2) ความรู้ในวิธีการ เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือกระบวนการต่างๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน เช่น ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ผู้เรียนต้องรู้ว่ามีวิธีการหรือกระบวนการแก้ปัญหาแบบใดบ้าง เพื่อให้สามารถหาคำตอบของโจทย์ปัญหานี้ได้
3) ความรู้ที่ใช้เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการ เป็นความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ลักษณะของวิธีการที่ใช้ในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน เพื่อตัดสินใจเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมและ มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ว่าวิธีการหรือกระบวนการแก้ปัญหาที่มีอยู่ วิธีการใดเป็นวิธีที่ใช้แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ง่ายต่อการอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ และเหมาะสมที่สุดกับ โจทย์ปัญหา
องค์ประกอบของ Metacognition ด้านการควบคุมตนเอง เป็นความสามารถของผู้เรียนในการควบคุมตนเอง ให้เรียนรู้หรือปฏิบัติงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งประกอบด้วยการควบคุมตนเองใน 3 ด้าน ดังนี้
1) การวางแผน เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์และขั้นตอนของการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ในการหาคาตอบของโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ จะต้องมีขั้นตอนใดบ้าง เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องและสอดคล้องกับเงื่อนไขที่โจทย์กำหนด
2) การกำกับควบคุม เป็นการตรวจสอบและคิดทบทวนเกี่ยวกับ ความเหมาะสมและความถูกต้องของวิธีการและขั้นตอนที่เลือกใช้ในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน เช่น ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ว่าวิธีการที่เลือกใช้เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหาในเรื่องนั้นหรือไม่
3) การประเมิน เป็นการตรวจสอบผลที่ได้จากการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน ซึ่งจะทำให้ผลที่ได้มีความถูกต้องและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น ผู้เรียนต้องตรวจสอบว่าคาตอบที่ได้สมเหตุสมผลกับโจทย์ปัญหาหรือไม่
องค์ประกอบของ Metacognition ด้านความตระหนักต่อกระบวนการคิด เป็นความสามารถของผู้เรียนเกี่ยวกับการรู้ปัจจัยที่จำเป็นที่ทำให้การเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถอธิบาย สิ่งที่ตนเองรู้ให้ผู้อื่นฟังได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอธิบายเหตุผลใน 3 ด้าน ดังนี้
1) การสนับสนุนความคิดหรือวิธีการที่ถูกต้องของตนเอง ผู้เรียนสามารถอธิบายเหตุผล เพื่อสนับสนุนความคิดหรือวิธีการที่ถูกต้องของตนเองได้อย่างชัดเจน ซึ่งแสดงถึง ความมั่นใจว่าสิ่งที่ตนเองคิดนั้นถูกต้อง หลังจากมีการประเมินแล้วว่ากระบวนการคิดที่ใช้ใน การเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานทำให้งานสำเร็จ
2) การยอมรับความคิดหรือวิธีการอื่นที่ถูกต้อง ผู้เรียนสามารถอธิบายเหตุผลในการยอมรับความคิดหรือวิธีการอื่นที่ถูกต้อง ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดของตนเอง
3) การยอมรับว่าความคิดหรือวิธีการของตนเองผิดพลาด ผู้เรียนสามารถอธิบายเหตุผลในการยอมรับว่าความคิดหรือวิธีการของตนเองผิดพลาด และพร้อมที่จะแก้ไข ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น หลังจากมีการประเมินแล้วว่ากระบวนการคิดที่ใช้ในการเรียนรู้หรือ การปฏิบัติงานทาให้งานผิดพลาด ก็ควรที่จะยอมรับว่าสิ่งนั้นผิดพลาดจริงๆพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขในสิ่งนั้น
การพัฒนาตน (self-development) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมาะสมเพื่อสนองความต้องการและเป้าหมายของตนเอง หรือเพื่อให้สอดคล้องกับ สิ่งที่สังคมคาดหวัง บุคคลที่จะพัฒนาตนเองได้ จะต้องเป็นผู้มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตัวเอง โดยมีความเชื่อหรือแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตนที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้การพัฒนาตนเองประสบความสำเร็จ แนวคิดที่สำคัญมีดังนี้ มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่มีคุณค่าอยู่ในตัวเอง ทำให้สามารถฝึกหัดและพัฒนาตนได้ในเกือบทุกเรื่อง
ไม่มีบุคคลใดที่มีความสมบูรณ์พร้อมทุกด้าน จนไม่จำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องใดๆ อีก แม้บุคคลจะเป็นผู้ที่รู้จักตนเองได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตนเองได้ในบางเรื่อง ยังต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการพัฒนาตน การควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำของตนเอง มีความสำคัญเท่ากับการควบคุมสิ่งแวดล้อมภายนอก  อุปสรรคสำคัญของการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง คือ การที่บุคคลมีความคิดติดยึด ไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีคิด และการกระทำ จึงไม่ยอมสร้างนิสัยใหม่ หรือฝึกทักษะใหม่ๆที่จำเป็นต่อตนเอง
และ การปรับปรุงและพัฒนาตนเองสามารถดำเนินการได้ทุกเวลาและอย่างต่อเนื่อง เมื่อพบปัญหาหรือข้อบกพร่องเกี่ยวกับตนเอง โดยกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาจะเป็นตัวสำคัญในการพัฒนาตนเอง 
                กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของผู้เรียนจะเป็นวิธีการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของ Oxford (1990)
โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ กลยุทธ์ทางตรง (Direct Strategies) และกลยุทธ์ทางอ้อม (Indirect Strategies) ซึ่งกลยุทธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีการศึกษาเชิงประจักษ์ที่ให้ผลสนับสนุน เช่น การศึกษาของWharton(2000) พบว่า นักศึกษาสิงคโปร์ที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนสูงจะใช้กลยุทธ์การเรียนภาษามากกว่านักศึกษาที่มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนต่ำ การเรียนการสอนภาษาต่าง
ประเทศที่จะมีประสิทธิภาพควรนำ หลักการทั้งสองดังกล่าว มาบูรณาการการเรียนการสอน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนโดยมีหลักสำคัญ คือ ผู้สอนต้องสร้างความสนใจ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างบทเรียนกับผู้เรียน สร้างความพึงพอใจในการเรียน สร้างความมั่นใจในตนเอง และกระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาเพื่อสร้างความประทับใจ ถ้าผู้เรียนมีทัศนคติเชิงบวกต่อภาษาอังกฤษแล้ว จะเป็นพื้นฐานที่นำ ไปสู่แรงจูงใจในการเรียนและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นด้วย กลยุทธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมมีหลักการดังนี้
                กลยุทธ์ทางตรง (Direct Strategies) หมายถึงการให้นักศึกษาใช้กระบวนการคิดโดยตรงที่เกี่ยวกับภาษาซึ่งประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย ได้แก่
กลยุทธ์ด้านความจำ (Memory Strategies)เป็นการเรียนภาษาที่ช่วยผู้เรียนจำข้อความหรือคำศัพท์ใหม่ ด้วยวิธีการจัดประเภท การใช้ภาพ การออกเสียงซ้ำๆการทบทวน การใช้สัญลักษณ์หรือการวาดแผนภูมิเป็นต้น        กลยุทธ์ด้านการรู้คิด (Cognitive Strategies) เป็นการฝึกฝน การวิเคราะห์โครงสร้างของคำ และประโยควิธีการรับและส่งข้อมูล การจับใจความสำคัญ และการสรุป
ความ ทำ ให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ที่มีอยู่กับความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ดีขึ้น กลยุทธ์ด้านการทดแทน (Compensation Strategies) เป็นวิธีการเดาอย่างมีหลักการ เช่น การเลือกใช้คำ ศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำ ศัพท์ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่รู้ความหมาย
                กลยุทธ์ทางอ้อม (Indirect Strategies) หมายถึง กระบวนการที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาทางอ้อม ประกอบด้วยกลยุทธ์ย่อย 3 ประการ คือ
กลยุทธ์ด้านอภิปัญญา (Metacognitive Strategies) เป็นวิธีการเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในกระบวนการคิดและการเรียนรู้ด้วยตนเองเช่น การตั้งใจเรียน
การรู้จักจัดการและวางแผนการเรียน และการประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง
กลยุทธ์ด้านอารมณ์ความรู้สึก (Affective Strategies) เป็นวิธีที่ช่วยพัฒนาความมั่นใจในตัวผู้เรียน ซึ่งเป็นกลยุทธ์การเรียนภาษาที่รวมถึงทัศนคติแรงจูงใจ และค่านิยมที่มีอิทธิพลต่อการเรียนภาษา และ กลยุทธ์ด้านสังคม (Social Strategies) เป็นการส่งเสริมวิธีการเรียนโดยการถามคำถาม และการเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น เมื่อพัฒนาตนเองแล้วเราก็ควรที่จะมีการประเมินตนเอง เพื่อที่จะได้รู้ว่าเรามีการพัฒนาได้แค่ไหน
                การประเมินตนเอง (Self assessment) เป็นกระบวนการประเมินความรู้ความสามารถวิธีหนึ่งที่ต้องทำควบคู่ไปกับการประเมินผลโดยวิธีอื่นๆ การประเมินตนเองทำได้โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน ใช้วัดผลและประเมินผลด้วยเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสม ผลที่ได้จะช่วยให้ทราบสภาพที่แท้จริงทั้งจุดเด่นและจุดด้อยและแนวทางการพัฒนา การประเมินตนเองและพัฒนาตนเองจึงเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินควบคู่กันไป และต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าของงานที่ปฏิบัติ ลักษณะสำคัญของการประเมินตนเองประกอบด้วย ต้องประเมินทั้งความรู้ การแสดงออก และความสามารถตามมาตรฐาน วิธีการประเมินต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่วางไว้ การประเมินอยู่ภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่ การแปลผล การส่งผล และลงข้อสรุปต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล การประเมินต้องมีความเที่ยงตรง และการประเมินตามสภาพจริงจะต้องทำหลายๆด้านไปพร้อมกัน
                ภาษาอังกฤษนับวันจะทวีความสำคัญและมีความจำ เป็นต่อการดำ เนินชีวิตมากขึ้น แต่ทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยยังอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงเมื่อเปรียบเทียบกับศักยภาพของนักศึกษาชาติอื่นๆ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาเพื่อที่จะสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องจำ เป็นอย่างยิ่ง  บทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของผู้เรียนจึงขึ้นอยู่กับทั้งผู้สอนและตัวผู้เรียน โดยผู้สอนต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองทั้งแบบทางตรงและทางอ้อมด้วย หากผู้สอนได้นำกลยุทธ์ทั้งการสอนและกลยุทธ์การเรียนมาใช้น่าจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนมากขึ้นจนสามารถพัฒนาให้มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อนำ ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น