ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
คำว่า “โครงสร้าง” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “structure” ซึ่งพจนานุกรม The American Heritage Dictionary of the English Language
(1980:1278) ให้ความหมายไว้ว่า
1) a
complex entity. ภาษาเป็นสิ่งที่ซับซ้อน 2) a. The configuration of element, parts, or constituents in such
an entity; organization; arrangement. b.
constitution; make-up. ภาษาประกอบด้วยส่วนต่างๆมากมาย
และส่วนประกอบเหล่านี้เรียงตัวอย่างเป็นระบบ 3) The interrelation of parts or the principle of organization in
a complex entity. ส่วนประกอบในภาษามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีกฎหรือระเบียบของความสัมพันธ์
โครงสร้างเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา
โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย
ในการใช้ภาษาใดก็ตาม ถ้าเราไม่รู้เรื่องหรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น
เราจะล้มเหลวในการสื่อสาร คือฟังหรืออ่านไม่เข้าใจ
และพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้ ในการแปลก็เช่นกัน นักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงแม้จะรู้ศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้
เพราะอาจตีความผิดหรือถ่ายทอดเป็นภาษาเป้าหมายที่ผิดได้
ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ (parts of speck)
เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง
เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาร้อยเรียงกันเพื่อให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร
ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้คำตรงกับหน้าที่ทาง
ประเภททางไวยากรณ์
(grammatical
category) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง
ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ เช่น บุรุษ (person) พจน์(number) ลิงค์ (gender) การก (case) มาลา (mood) วาจก (voice) เป็นต้น
ประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
1.1คำนาม เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ (marker) ในภาษาอังกฤษ
แต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย ได้แก่ บุรุษ (person), พจน์(number), ความชี้เฉพาะ(definiteness),
และการนับได้ (countability)
ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะนี้จะช่วยในการแปลอย่างมาก
1.1.1บุรุษ(person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนำหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด
(บุรุษที่ 1 ) ผู้ที่ถูกพูดด้วย(บุรุษที่ 2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง(บุรุษที่ 3)
ภาษาอังกฤษแยกรูปสรรพนามตามบุรุษที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อย่างชัดเจน แต่ภาษาไทยไม่แยกเด่นชัด
เพราะบางคำก็ใช้ได้หลายบุรุษ
1.1.2พจน์ (number) พจน์
เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกถึงจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง
หรือจำนวนมากว่าหนึ่ง ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้
ตัวกำหนด (determiner)
ที่ต่างกัน
เช่นใช้ a/an
นำหน้าคำนามเอกพจน์เท่านั้น
และแสดงพหูพจน์โดยการเติมหน่วยท้ายศัพท์ –s แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้นั้น
เพราะภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน
1.1.3การก (case)
การก
คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร
คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร เช่นเป็นประธาน เป็นกรรม ในภาษาอังกฤษ
การกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ
เช่น The dog bit the
boy. จะต่างกับ The boy bit the
dog. ประโยคแรก dog เป็นประธานหรือผู้กระทำ
ส่วนประโยคหลัง dog
เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ
แต่การการกเจ้าของในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเติม –s ที่หลังคำนาม เช่น teacher’s และคำที่หมายถึงเจ้าของจะอยู่หน้าคำที่หมายถึงสิ่งที่มีเจ้าของ
เช่น the
teacher ‘s book ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำเพื่อแสดงการก
แต่ใช้การเรียงคำ เหมือนกับการกประธานและกรรมในภาษาอังกฤษ
ส่วนการกเจ้าของในภาษาไทยมีการเรียงคำต่างจากภาษาอังกฤษ เช่น เราพูดว่า
“หนังสือครู” ไม่ใช่ “ครูหนังสือ” เหมือนในภาษาอังกฤษ
1.1.4นามนับได้ กับ นามนับไม่ได้ (countable and
uncountable nouns)คำนามในภาษาอังกฤษใช้ตัวกำหนด
a/an
กับคำนามได้ที่เป็นเอกพจน์
และการเติม –s ที่นามนับได้พหูพจน์
ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และไม่ต้องเติม –s เช่น นามนับได้(เอกพจน์) A cat, An egg นับได้ (พหูพจน์) cats, eggs นามนับไม่ได้ เช่น Hair ในภาษาไทยคำนามทุกคำนับได้ เช่น แมว 1 ตัว แมว 7 ตัว
ในภาษาอังกฤษ
ก็มีการใช้หน่วยบอกปริมาณหรือปริมาตรกับคำนามที่นับไม่ได้ทำให้เป็นหน่วยเหมือนนับได้
เช่น a glass of
water.
1.1.5ความชี้เฉพาะ (definiteness) การแยกความต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ
เครื่องหมายที่จะบ่งชี้ความชี้เฉพาะคือตัวกำหนดได้แก่ a/an ซึ่งบ่งความไม่ชี้เฉพาะ (indefiniteness)
และ the ซึ่งบ่งความชี้เฉพาะ (definiteness) ภาษาไทย ไม่มีการแยกความแตกต่างระหว่างชี้เฉพาะกับไม่ชี้เฉพาะ
ดังนั้นเวลาคนไทยแปลไทยเป็นอังกฤษจึงต้องระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ
1.2คำกริยา คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค
เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท เช่น กาล(tense) การณ์ลักษณะ(aspect) มาลา(mood) วาจก(voice) และการแยกความต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้(finite vs.
non-finite)
1.2.1 กาล(tense) คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต
ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากการบ่งชี้กาล เช่น Mary likes him.และ Mary liked him
แม้จะมีความหมายเหมือนกันแต่เวลาต่างกันภาษาไทยไม่ถือว่ากาลเป็นเรื่องสำคัญ
เมื่อแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษคนไทยจึงต้องระวังเรื่องกาลเป็นพิเศษ
1.2.2การณ์ลักษณะ(aspect) การณ์ลักษณะ
หมายถึงลักษณะของการกระทำ หรือ ในภาษาอังกฤษ การณ์ลักษณะที่สำคัญได้แก่
การณ์ลักษณะต่อเนื่ อง หรือการณ์ลักษณะดำเนินอยู่
(continuous
aspect หรือ progressive
aspect) ซึ่งแสดงโดย verb to be +
present participle (-ing) และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น (perfective aspect) ซึ่งแสดงโดย verb to have + past participle ในภาษาไทย เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องหรือกำลังดำเนินอยู่แสดงด้วยคำว่า
“กำลัง” หรือ “อยู่” หรือใช้ทั้งคู่ เช่น “ตอนนี้เรากำลังรับประทานอาหารอยู่”
ส่วนการณ์ลักษณะเสร็จสิ้นแสดงโดยคำว่า “แล้ว” เช่น “เขาอาบน้ำแล้ว
ก็แต่งตัวไปทำงาน” การณ์ลักษณะในภาษาอังกฤษจะผูกติดกับกาลเสมอ
เพราะผู้พูดจะต้องคำนึงถึงกาลตลอดเวลา นอกจากนั้น
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในภาษาอังกฤษ คือ ถ้าประโยคมีกริยาหลายตัว
กาลของกริยาเหล่านั้นต้องสัมพันธ์กันในเรื่องเวลา
และต้องมีการเรียงลำดับการเกิดก่อนหลังด้วย
ภาษาอังกฤษถือว่าเรื่องเวลาของเหตุการณ์เป็นสิ่งที่สำคัญมากแต่ในภาษาไทยถือว่าการณ์จะเกิดขึ้นเมื่อใดเป็นสิ่งไม่สำคัญ
ผู้อ่านสามารถตีความเองได้จากบริบท
1.2.3มาลา (mood) มาลา เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา
มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร
ในภาษาไทยไม่มีการแสดงมาลา เช่น ประโยคสมมติ ประโยคคาดคะเน
หรือประโยคเปรียบเทียบบางสิ่งว่าเสมือนอีกสิ่ง
มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา
หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries ในภาษาไทย มาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์เท่านั้น
คำที่แสดงมาลาในภาษาไทย เช่น อาจ น่าจะ ดูเหมือน บางที เป็นต้น
1.2.4วาจก (voice) วาจก เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา
ว่าประธานเป็นผู้กระทำ หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ในภาษาอังกฤษ ประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นผู้กระทำ
เช่น A speeding truck hit a bus full of nursery children
yesterday in …แต่ในบางกรณี
กริยาเป็นผู้ถูกกระทำ เช่น Frogs’legs are eaten in France.ในภาษาไทย
คำกริยามามีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเองเพื่อแสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก เช่น
ตึกหลังโน้นสร้างเสร็จเมื่อปีที่แล้ว กริยาช่วย ถูก โดน ได้รับ เป็น สามารถบ่งบอกกรรมวาจกได้
เช่น เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดี ในการแปลระหว่างภาษาอังกฤษกับไทย
ประโยคกรรมในภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องเท่ากับประโยคกรรมในภาษาไทยเสมอไป ดังตัวอย่างจะแสดงให้เห็นว่าประโยคกรรมในภาษาอังกฤษสามารถเทียบเท่ากับประโยคกรรมหลายประเภทในภาษาไทย
และประโยคประเภทอื่นๆอีกด้วย
1.2.5กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs.
non-finite) คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้
กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น
ส่วนกริยาอื่นๆในประโยคต้องแสดงรูปให้เห็นชัดว่าไม่ใช่กริยาแท้ ในตัวอย่าง ในภาษาไทย
ไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้
กล่าวคือกริยาทุกตัวในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน หรือเครื่องหมายที่เราจะระบุได้ทันทีว่าตัวไหนเป็นกริยาแท้หรือไม่แท้
1.3ชนิดของคำประเภทอื่นๆ
คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เองได้แก่คำบุพบท(preposition) ซึ่งผู้แปลต้องหมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษา
นอกจากนั้น คำบุพบทในภาษาอังกฤษสามารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้ แต่ภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้ เช่น This is a good pen to write with. (ภาษาไทย = “นี่เป็นปากกาที่เขียนดี”)
คำ adjective ในภาษาอังกฤษก็อาจเป็นปัญหาสำหรับคนไทย
เพราะต้องใช้กับ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค ในภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้เพราะใช้กริยาทั้งหมด
นอกจากนั้น adjective
ที่เรียงกันหลายคำเพื่อขยายคำนามที่เป็นคำหลัก เมื่อแปลเป็นไทย
อาจมีปัญหาเพราะคำในภาษาไทยคำขยายอยู่หลังคำหลัก ตรงข้ามกับในภาษาอังกฤษ
ทำให้เรียงคำขยายแบบภาษาอังกฤษไม่ได้ คำอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ขนานกันระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษ
ได้แก่คำลงท้าย เช่น คะ ครับ นะ สิ เถอะ ละ ฯลฯ
คำเหล่านี้มีความหมายละเอียดอ่อนและในภาษาอังกฤษไม่มีของชนิดคำประเภทนี้
เมื่อแปลไทยเป็นอังกฤษจะต้องคำประเภทอื่นหรือรูปแบบอื่นแทน
2.หน่วยทางโครงสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง (construction) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง
เช่นหน่วยสร้างนามวลี (noun phrase construction) หน่วยสร้างคำวาจก (passive construction) หน่วยสร้างคุณานุประโยค(relative construction) เป็นต้น
2.1หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด (Determiner) +นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย)
นามวลีในภาษาอังกฤษมี ตัวกำหนด (Determiner)
อยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์
(ยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะและสรรพนาม)
ดังนั้นเรามักพบเสมอว่าในขณะที่นามวลีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดปรากฏ แต่ภาษาไทยไม่มี
เช่น My
father is a lawyer. ในบางครั้งเราจะสังเกตได้ว่าผู้แปลใช้คำว่า นั้น นี้ ดังกล่าว หรือ
ซ้ำชื่อเดิมลงไปเพื่อให้สื่อความหมายเฉพาะเจาะจงเช่นเดียวกันกับ the
2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ) vs. ส่วนหลัก+ส่วนขยาย(ไทย)
ในหน่วยสร้างนามวลี
ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก ส่วน ภาษาไทยตรงกันข้าม
เวลาแปลจากอังกฤษเป็นไทย ถ้าส่วนขยายไม่ยาวเราเพียงแต่ย้ายที่ส่วนขยายจากหน้าไปหลัง
เช่น He found
himself on the green knoll. แต่หากส่วนขยายยาว หรือซับซ้อนผู้แปลอาจแปลเป็น relative clause
หรือ
ขึ้นประโยคใหม่โดยเก็บใจความ เช่น The book was not original, but it was timely.
2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive
constructions)
ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด
และมีแบบเดียว คือ ประธาน/ผู้รับ การกระทำ+กริยา—verb to be +
past participle+(by+นามวลี/ผู้กระทำ)
แต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ เป็นที่น่าสังเกตว่ากริยาเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก
จะมีรูปตรงกันข้ามในภาษาไทยและอังกฤษ กล่าวคือในภาษาไทยมักเป็นกรรตุวาจก เช่น สนใจ
พอใจ ตื่นเต้น กลัว ท้อใจ โล่งใจ ฯลฯ ส่วนในภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจก
2.4หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic : (ไทย)
ภาษาไทยเป็นภาษาเน้น topic
(topic-oriented language) ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาเน้น subject
(subject oriented language)
2.5หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb
construction)
หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ
และมักเป็นปัญหาในการแปลได้แก่ หน่วยสร้างกริยาเรียง
ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า
เช่น เดิน-ไป-ดูหนัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น