วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558



 บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

ความสำคัญของการแปล
                ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่มีการใช้กันทั่วโลกมากกว่าภาษาอื่นๆ ในยุคปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น จากการที่การคมนาคมสื่อสารเจริญรุดหน้าไปอย่างมาก คนต่างชาติต่างภาษาในโลกได้มีการติดต่อกันมากขึ้นทุกวัน การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้นจากการที่ประเทศไทยได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ  โดยที่ประเทศต่างๆล้วนมีภาษาที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความจำเป็นในการที่จะต้องมีการถ่ายทอดความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศที่ใช้ภาษาต่างกันสามารถทำความเข้าใจกันได้
การแปลในประเทศไทย
                การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย ผู้แปลจะต้องติดตาทวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดเวลา  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้ให้คุ้มค่ากับเวลาที่จะใช้ในการแปลด้วย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
                การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา  รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ
การแปลคืออะไร
                การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น อีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามตันฉบับเดิมอีกด้วยหากทำได้
คุณสมบัติของผู้แปล
                1.เป็นผู้ที่มีความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปลดี
                2.เป็นผู้ที่ชอบค้นคว้าหาความรู้ในวิชาการแขนงอื่นๆ นอกเหนือจากด้านภาษาในการแปลเรื่องที่ผู้แปลไม่มีความรู้
3.เป็นผู้มีวิจารณญาณในการแปล มีพื้นฐานทางด้านไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษารวมทั้งการใช้ภาษา
                4.เป็นผู้มีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5.เป็นผู้สามารถอุทิศเวลาให้การแปลได้อย่างแท้จริ ง
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
                1.เพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพ
                2.การสอนให้ผู้แปล สามารถจับใจความสำคัญได้ และสามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้
                3.ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง
                4.ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพหรือผู้ใช้บริการการแปล
บทบาทของการแปล
                ผู้รับสาร (receive) ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่งมีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับ ผู้แปลในฐานะตัวกลางในการส่งสารจึงมีบทบาทสำคัญมาก
ลักษณะของงานแปลที่ดี
                ลักษณะของงานแปลที่ดี ควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ ใช้รูปประโยคสั้นๆ แสดงความคิดเห็นได้แจ่มแจ้ง ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสม และรักษาแบบหรือสไตล์ของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำหรือสำนวนให้เข้ากับสภาพ แต่ในกรณีที่ภาษาทั้งสองมีโครงสร้างหรือลักษณะที่แตกต่างกัน การรักษารูปแบบหรือโครงสร้างของภาษาต้นฉบับก็อาจจะทำให้ผู้รับสารไม่ยอมรับ
การให้ความหมายในการแปล
            การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน การให้ความหมายมี 2 ประการ คือ การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน และการตีความหมายบริบทของข้อความต่างๆ
การใช้ปัจจุบันกาล ให้พิจารณาถึงรูปแบบของกาล 2 กาล คือ ปัจจุบันกาล (Simple Present) และอนาคตกาล (Progressive Present) การใช้ปัจจุบันกาล(The Simple present) ในการแปลนั้น ผู้แปลจะต้องเทียบเคียงกับโครงสร้างภาษาไทย ส่วนที่เหมือนและส่วนที่ต่าง
การแปลอังกฤษเป็นไทย ต้องคำนึงถึงความหมาย 7 ประการดังนี้
                1.อนาคตกาล (The progressive Present) การแปลที่ต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาล (Simple Present) และอนาคตกาล (Progressive Present) การกระทำในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับปัจจุบัน (now) การให้ปัจจุบันโดยมีคำว่า always หรือ often
                2.โครงสร้างประโยคอื่นๆ ในการแปลของกาลในภาษาอังกฤษ รวมทั้งโครงสร้างของไวยากรณ์
                3.ศัพท์เฉพาะ (Lexis) การแปลความหมายตามศัพท์จะ แต่ถ้าเป็นเรื่องของโครงสร้าง จะมีศัพท์ที่แปลตามคำแล้วไม่ได้ใกล้เคียงกัน
                4.ตีความทำนาย (Interpretation of the Facts-a prediction) สิ่งที่สำคัญก็คือ การแปลข้ามภาษาจะต้องคำนึงถึงความหมายทั่วไปๆมากกว่าการให้คำเหมือน หรือให้ความหมายเหมือนกับในรูปประโยคที่ต่างกันในภาษา เดียวกัน หลักของความต่างที่ใช้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและระบบของภาษา การใช้ ศัพท์เฉพาะ (Lexis) ขึ้นอยู่กับประเด็นของข้อความ
การแปลกับการตีความจากบริบท
            ความใกล้เคียง (Context) และความคิดรวบยอด (Concept) ให้ดูสถานภาพเป็นอยู่ของข้อความ ความหมายจากรอบข้างหรือบริบทของข้อความ (context) เป็นรูปนามธรรม ดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมา
การวิเคราะห์ความหมายของภาษา
สิ่งที่จะต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมายคือ
องค์ประกอบของความหมาย
                1.คำศัพท์ คือคำที่ใช้ตกลงยอมรับกันของผู้ใช้ภาษา ความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในบริบทต่างๆตามที่คำนั้นปรากฏอยู่
                2.ไวยากรณ์ หมายถึงแบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
                3.เสียง ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย เช่น เสียงสระ เสียงพยัญชนะ เป็นการนำเสียงเหล่านั้นมารวมเข้ากันอย่างเป็นระบบ จะทำให้เกิดหน่วยที่มีความหมาย เรียกว่า คำ หรือ คำศัพท์
                ความหมายและรูปแบบ
                ความหมายและรูปแบบมีความสัมพันธ์กันดังนี้
                1.ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น ในรูปประโยคที่ต่างกัน หรือใช้คำที่ต่างกัน
                2.รูปแบบเดียวกันอาจจะมีหลายความหมาย  ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
ประเภทของความหมาย
                นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดประเภทของความหมายไว้ 4 ประเภทด้วยกัน
                1.ความหมายอ้างอิง (referential meaning) หรือความหมายโดยตรง (denotative meaning) ความหมายอ้างอิงหมายถึงความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม หรือความคิด มโนภาพ
                2.ความหมายแปล(Connotative meaning) หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง ซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทางบวก หรือทางลบก็ได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของ
                3.ความหมายตามบริบท (Contextual   meaning) รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย ต้องพิจารณาจากบริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด จึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อ
                4.ความหมายเชิงอุปมา (figurative meaning) เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบแบบเปิดเผย(simile) และการเปรียบเทียบโดยนัย (metaphor)
การเลือกบทแปล
                เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการแปล โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล และให้ผู้เรียนได้ทั้งความรู้ด้านทักษะทางภาษา และเนื้อหาไป
เรื่องที่จะแปล
                เรื่องที่จะเลือกแปลมีหลายสาขา จะต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใด ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย การแปลจึงควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับกันในสาขาวิชา ผู้แปลแต่ละสาขาวิชาจะต้องฝึกฝนภาษาอังกฤษในสาขาวิชาของตนเองด้วย การเลือกหนังสือที่จะแปล    



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น